ไม่ใช่แค่Moody ที่ปรับระดับ

ไม่ใช่แค่Moody ที่ปรับระดับประเทศไทย ทั้งIMFและ World Bank  เป็นครั้งแรกของไทยอัตราการเติบโตทาง ศก. ต่ำกว่า กัมพูชาและ สปป.ลาว 
 

 พล.ต.ท.ปิยะ ต๊ะวิชัย โฆษกพรรคพลังประชารัฐ   กล่าวถึงกรณีนายจิรายุ  ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ออกมาโต้ กรณี
Moody''s ได้ปรับลดอันดับเครดิตของประเทศไทยลงจาก “Stable” เป็น “Negative” ว่า เป็นเรื่องไม่น่าเป็นห่วงนั้น   ว่า “รัฐบาลคงไม่เข้าใจระบบเศรษฐกิจมหภาคในภาพรวมของประเทศและของโลกดีพอ  และการที่Moody''s ได้ปรับลดอันดับเครดิตของประเทศไทยลงประเภท Senior unsecured bond ที่ Baa1 และเปลี่ยนแนวโน้ม (Outlook) เป็น “Negative” จาก “Stable” เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงมากขึ้น โดยดูจากระบบเศรษฐกืจในรอบปีที่ผ่านมาและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้   ส่วนความสามารถในการแก้ไขมาตรการภาษีสหรัฐฯ นั้น เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะมีผลกระทบอย่างไร   ถ้ารัฐบาลไม่มีความรู้ความสามารถเรื่องระบบเศรษฐกิจก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาในภาพรวมได้  ซึ่งเรื่องนี้ ไม่ใช่เพียงแค่ฝ่ายค้านที่เป็นห่วง ทั้งนักวิชาการ  นักเศรษฐศาสตร์  ธนาคารแห่งประเทศไทย  ออกมาเตือนรัฐบาลหลายครั้ง”
         พล.ต.ท.ปิยะฯ กล่าวว่า “การเตือนของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ผ่านมา วันนี้ (22 เมษายน 2568) ในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (The World Economic Outlook: WEO) ฉบับเดือนเมษายนปี 2025 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดประมาณการขยายตัวของไทย (จีดีพี) ปี 2568 จาก 2.9% เหลือ 1.8% โดยมีประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในกลุ่มอาเซียนที่ IMF ปรับลดคาดการณ์จีดีพีลงต่ำกว่าระดับ 2% เมื่อเปรียบเทียบกับ ประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชีย  เช่น  อินเดีย 6.2 % ฟิลิปปินส์ 5.5% เวียดนาม 5.2% อินโดนีเซีย 4.7 %มาเลเซีย 4.1 %
จีน 4.0%  ไทย 1.8% จะเห็นว่าประเทศไทยอยู่ในลำดับท้ายๆสุด   ส่วนในปี 2569 จีดีพีอาจลดเหลือเพียง 1.6%  เท่านั้น“
       ”ไม่เพียงแต่ IMF หรือ Moodyเท่านั้น ที่ปรับระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ของประเทศไทยอยู่ในระดับต่ำ   เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2568 ธนาคารโลก (World Bank) ยังปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยปี 2568 เหลือโต 1.6% ชะลอลงจากเมื่อเดือนก.พ.68 ที่ได้ประเมินว่าจะเติบโตได้ 2.9% โดยพิจารณาการส่งออกและการลงทุน ซึ่งจากความไม่แน่นอนและความเสี่ยงต่อแนวโน้มเศรษฐกิจก็ยังคงอยู่ในระดับสูงด้วย   ขณะเดียวกันเปรียบเทียบอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP)ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก  พบว่า
มองโกเลีย โต 6.3% ,เวียดนาม โต 5.8%,ฟิลิปปินส์ โต 5.3% ,อินโดนีเซีย โต 4.7%,จีน โต 4.0% ,กัมพูชา โต 4.0%,มาเลเซีย โต 3.9% ,สปป.ลาว โต 3.5%  ส่วนประเทศไทย โต1.6เท่านั้น“   พล.ต.ท.ปิยะฯกล่าว
         ” รัฐบาลต้องใช้มืออาชีพ ทางด้านการเงินการธนาคารระดับมหภาคที่มีความรู้ความสามารถมาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างแท้จริง  ขนาดธนาคารโลก (World Bank) ยังปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย  ต่ำกว่าเวียดนาม (โต 5.8%,)ฟิลิปปินส์ (โต 5.3% ) อินโดนีเซีย (โต 4.7%)มาเลเซีย (โต 3.9%)  เป็นครั้งแรกที่ กัมพูชา (โต 4.0%) และสปป.ลาว (โต 3.5% )โตกว่าไทยเยอะ   คำแนะนำหรือคำเตือนขององค์การเศรษฐกิจ  ระหว่างประเทศ เช่น IMF, Moody,World Bank ฯลร นักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความสามารถ เป็นสิ่งที่รัฐบาลควรต้องให้ความสำคัญ  รัฐบาลควรพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจ  พัฒนาอุดสาหกรรมขนาดย่อม  พัฒนาstart up เพื่อเพิ่มศักยภาพการส่งออก  และส่งเสริมการลงทุนขนาดกลางและขนาดใหญ่เพื่อให้รายได้ประชาชนดีมากขึ้น  
       เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศไทยตกต่ำมาก คนไทยตกงาน  สินค้าเกษตร ราคาตกต่ำ  มะม่วงราคาตกเหลือ กก.ละ 20 บาท  ประชาชนรากหญ้ากำลังจะอดตาย  หนี้ครัวเรือนสูงขึ้น  เงินกู้นอกระบบเกลื่อนทุกตลาด  ทุกเสาไฟฟ้า  เป็นปัญหาที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญ มากกว่า การกู้เงิน 500,000ล้านบาทเพิ่มภาระหนี้ประชาชนให้สูงขึ้น  แล้วเอามาแจกโดยไม่เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ     
ขนาด”คนบางคน“ในรัฐบาล ในเรื่องค่าเงินบาทอ่อน/แข็งที่มีผลต่อเศรษฐกิจประเทศอย่างไรยังไม่เข้าใจ  ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานเศรษฐกิจแท้ๆ  เรื่องยากๆ อย่างระบบเศรษฐกิจโดยรวมจะเข้าใจได้อย่างไร  นี่คือ ปัญหาที่ต้องรีบแก้ไข  “

ความคิดเห็น

ข่าวฮอตชัดทุกกระแส

วิเคราะห์ เจาะลึก วัตถุมงคลหลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน

ทนายอนันต์ชัย โพสต์ FB ระบุ

ฟุตบอลสูงอายุชิงถ้วย ร.10 68 ทีมร่วมฟาดแข้ง

“ธรรมาภิบาล”เร่งหารือ กกต.ให้จัดการเลือกตั้งใหม่

ชมรมทหารพราน ค่ายปักธงชัย แจกข้าวสาร อาหารแห้ง ณ​ ชุมชนชาวคลองลัดภาชี

ราชกรีฑาสโมสรจัดศึกกีฬาม้าแข่งไร้พนันชิงชัยแบบนิวนอร์มัล

ไทย ต้านไม่ไหว พ่ายญี่ปุ่น 0-7