พปชร.หยัน รัฐบาลมีปัญญา
พปชร.หยัน รัฐบาลมีปัญญาแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำแค่นี้เองเหรอ ถ้ารัฐบาล ไม่มีแนวทางแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ยินดีให้ลอกแบบตามที่พรรค พปชร. เคยทำมาสำเร็จ
วันนี้ (7มี.ค.2568) พล.ต.ท.ปิยะ ต๊ะวิชัย โฆษกพรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ตามที่เกษตรกรชาวนาได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากราคาข้าวตกต่ำ และรัฐบาลได้ผลักไส ให้ชาวนา เปลี่ยนจากการปลูกข้าวไปปลูกกล้วยแทนโดยคิดว่า ราคากล้วยดีกว่าราคาข้าว แสดงถึงการเข้าถึงปัญหา และปัจจัยในการก่อให้เกิดปัญหาราคาข้าวตกต่ำ และการช่วยเหลือเกษตรกรชาวนา ของรัฐบาลไม่มีความละเอียดเพียงพอและไม่เข้าใจถึงปัญหาอย่างลึกซึ้ง
ในช่วงนี้ ข้าวนาปรังออกมาในตลาดเป็นจำนวนมาก ประกอบกับ ความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลกทำให้ราคาข้าวตกต่ำ แทนที่รัฐบาลจะมองให้ลึกถึงปัญหาและเข้าใจความเดือดร้อนของชาวนาอย่างแท้จริง กลับไป แนะนำให้ชาวนาเปลี่ยนจากการปลูก“ข้าว”ปลูก“กล้วย” แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ และ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล ถ้ารัฐบาลไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอ ทางพรรคพลังประชารัฐยินดีให้ลอกนโยบาย และการแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำในรัฐบาลที่ผ่านมาทำแล้วได้ผล
การช่วยเหลือความเดือดร้อนของชาวนาเบื้องต้นในระยะสั้น ในรัฐบาลนี้ ให้เงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินรายละ 10 ไร่ เกษตรกรหนึ่งรายจะได้เงินช่วยเหลือ ไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งไม่เพียงพอต่อการขาดทุนของชาวนา ซึ่งเดิมรัฐบาลสมัยพรรค พปชร. เป็นแกนนำ ได้ให้เงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินรายละ 20 ไร่ เกษตรกรหนึ่งรายได้เงินช่วยเหลือ ไม่เกิน 20,000 บาท ซึ่งเพียงพอที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้นของชาวนาได้ในระดับหนึ่ง
นอกจากการช่วยเหลือทางด้านการชดเชยทางการเงินแล้ว รัฐบาลจะต้องมีแผนระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว ในการแก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาพันธุ์ข้าว ให้มีผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น พัฒนารูปแบบและวิธีการปลูกให้เห็นได้ผลผลิตสูงขึ้น การใช้เทคโนโลยีเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อลดต้นทุนและทดแทนการใช้แรงงาน ส่งเสริมให้มีการปลูกข้าวคุณภาพดีและมีราคาสูงและเป็นที่นิยมของตลาดโลก กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการต่างประเทศต้องให้การสนับสนุนและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก การจับกลุ่มหรือจับคู่ค้า เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าเข้ากับสินค้าที่นำเข้าเพื่อสร้างราคาหรือลดการขาดดุล เป็นต้น
ทางพรรคพลังประชารัฐ เคยเสนอ รัฐบาลสมัยที่แล้ว โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง เพื่อเป็นการเสริมและลดต้นทุนให้แก่เกษตรกรชาวนาชาวสวน โดยจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยของเกษตรกรครึ่งหนึ่งตามราคาจริงและ ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยในประเทศเพื่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง แต่รัฐบาลกลับเพิกเฉยไม่สนใจในความเดือดร้อนของชาวนาชาวไร่
ทางรัฐบาลคงจะอยู่ในห้องแอร์ ไม่เคยลงไปในนา ในสวน เลยไม่เข้าใจว่าเกษตรกรที่ปลูกปลูกข้าวและปลูกกล้วยเป็นคนละกลุ่มกัน พื้นที่และลักษณะการปลูกเป็นคนละแบบ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการปลูก ก็คนละแบบกัน การเปลี่ยนข้าวให้เป็นสวนกล้วย ต้องปรับสภาพดิน ขุดร่องน้ำ ทำคันเนินดิน การหาหน่อกลัวยและพันธุ์กลัวยที่ตลาดโลกต้องการไม่ใช่เรื่องง่าย ค่าใช้จ่ายในการปรับแปลงนาให้เป็นส่วนกล้วยมีราคาหลายหมื่นบาท และกว่าจะปลูกกล้วยได้ผลผลิตใช้เวลาไม่ต่ำกว่าหนึ่งปี ตลาดตลาดข้าวที่เคยขายอยู่ก็คนละตลาด ปัญหาเชิงซ้อนมากมาย และที่สำคัญในระหว่างที่ผลผลิตกล้วยยังไม่ออก ชาวนาจะเอาอะไรกิน
พล.ต.ท.ปิยะฯ กล่าวว่า การที่รัฐบาลคงแข็งค่าเงินบาทให้ในระดับที่สูงเกินความจำเป็นมีผลกระทบต่อรายได้ชาวนา ชาวไร่ และเกษตรกรตลอดจนผู้ส่งออกก็จะทำให้รายได้ที่ออกมาเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศมีมูลค่าลดลงเมื่อแลกเปลี่ยนเงินในประเทศ ซึ่งจากมีหลายคนในรัฐบาล ยังไม่มีความเข้าใจเรื่องเงินบาทแข็งค่าและ ผลกระทบอย่างเพียงพอ
ทางพรรคพลังประชารัฐ เคยแก้ไขปัญหานี้ได้ผลมาแล้ว ถ้ารัฐบาล ไม่มีแนวทางแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ พรรค พปชร.ยินดีให้ลอกแบบตามที่พรรค พปชร. เคยทำมาสำเร็จ
การคำแนะนำเช่นนั้นแสดงถึงการไม่มีความรู้ความสามารถในการแก้ไขปัญหาราคาข้าวอย่างแท้จริง ก็ควร
เปิดทางให้พรรคการเมืองอื่นเป็นแกนนำในการบริหารประเทศจะดีกว่าไหม ระวังเดินไปที่ไหนจะโดนชาวไร่ ชาวนาเขาแจก“กล้วย”เอา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น