ประธานสภา กังวลเกินไป
ประธานสภา กังวลเกินไปหรือมีข้อตกลงอะไรลับๆ กรณีไม่ให้ชื่อระบุชื่อคนบางคนในญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
วันนี้ (10มี.ค.68) พล.ต.ท.ปิยะ ต๊ะวิชัย โฆษกพรรคพลังประชารัฐ กล่าวความเห็น “กรณีที่ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ตัดชื่อ“ทักษิณ” ออกจากญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ น.ส. แพรทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เนื่องจาก อ้างว่าผิดข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2563 ข้อ 176 และอาจอาจจะมีสิทธิ์ที่จะถูกฟ้องได้ โดยอ้างว่า ห้ามยื่นหรือ บรรจุญัตติ ที่มีมีชื่อบุคคลอื่น นั้น ท่านประธานสภา อาจจะเข้าคลาดเคลื่อน และเอาเรื่องหลายเรื่องมาปนกัน
ทั้งนี้ ท่านต้องเข้าใจอำนาจและหน้าที่ของประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งระบุไว้ชัดเจนในข้อ 9 ตามข้อบังคับการประชุม
สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2563
(แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565) บอกหน้าที่ 6 ข้อของประธานสภาไว้ชัดเจน และในข้อบังคับดังกล่าว ข้อ 44 ได้ให้ความหมายของคำว่า “ญัตติ” ว่า ญัตติ (Motion) คือ ข้อเสนอใดๆที่มีความมุ่งหมายให้สภาลงมติหรือชี้ขาดว่าจะให้ปฏิบัติหรือดำเนินการอย่างไรต่อไป ทั้งนี้ ญัตติ เสนอได้ทั้งเป็นหนังสือหรือด้วยวาจา จะมีผู้รับรองหรือไม่ ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุม ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับที่ 44-65 และที่สำคัญ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ให้เป็นไปตาม ข้อบังคับฯ หมวด 9 ข้อ 175-178 ในกรณีที่ท่านประธานสภา อ้างข้อบังคับฯ ข้อ 176 ที่ว่า “ เมื่อประธานสภาได้รับญัตติตามข้อ 175 แล้วให้ทำการตรวจสอบ หากมีข้อ “บกพร่อง“ ให้ประธานสภาแจ้งให้ผู้เสนอทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับญัตติ“ ซึ่งในกรณีนี้ประธานสภา ไม่ได้แจ้งข้อบกพร่องที่ชัดเจนว่าผิดข้อบังคับฯข้อหนึ่งข้อใด ในส่วนที่2 ที่ว่าด้วย “ การเสนอญัตติ” ข้อ 44-65 และ หมวด 9 ข้อ 175-178 แต่กลับอ้างเรื่อง “การออกชื่อสมาชิกหรือ บุคคลใดโดยไม่จำเป็น” ซึ่งเป็นข้อบังคับในหมวด 3 การอภิปราย ซึ่งเป็นข้อบังคับฯ คนละเรื่องกัน และในข้อบังคับว่าด้วยเรื่องการยื่นญัตติ ข้อ 44-65 และ ข้อ 175-178 ไม่มีการระบุให้นำ ข้อบังคับเรื่องนี้มาบังคับใช้โดยอนุโลมแต่อย่างใด
ส่วนการอภิปราย ที่ทางประธานสภา เกรงว่า จะมีสมาชิกผู้หนึ่งผู้ใด อภิปรายโดยการออกชื่อสมาชิกหรือ บุคคลใดโดยไม่จำเป็น อันเป็นการผิดข้อบังคับฯ ข้อ 69 และเป็นเหตุให้มีการฟ้องร้องกันขึ้นนั้น ในส่วนตัวมั่นใจว่า สส.ทุกท่านมีวุฒิภาวะ รู้ดีว่า อะไรถูกอะไรควร ไม่น่าห่วงอยู่แล้ว หากมี การกระทำผิดตามข้อบังคับข้อ 69 ก็มีแนวทางการดำเนินการ ตามข้อ 71-72 ซึ่งเป็นอำนาจของประธานสภาอยู่แล้ว“
ประธานสภา กังวลเกินไปหรือ ตั้งใจถ่วงเวลาให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีต้องเลื่อนออกไป จนหมดสมัยการประชุมในครั้งนี้หรือมีข้อตกลงอะไรลับๆ
หรือไม่อย่างไร ฝากพี่น้องประชาชนช่วยจับตามอง”
พล.ต.ท.ปิยะฯ กล่าวว่า “อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ ท่าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หน.พรรคพลังประชารัฐ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเอ่ยชื่อคนบางคนเท่าใดนัก บอกเพียงว่า แค่พยานและหลักฐานที่ยืนยันการกระทำของนายกรัฐมนตรีที่ทาง พปชร.เตรียมอภิปรายไว้มั่นใจว่า พรรคร่วมรัฐบาลไม่ยกมือให้อย่างแน่นอน ”
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น