ผอ.เขตสัมพันธวงศ์ ชี้แจง
ผอ.เขตสัมพันธวงศ์ ชี้แจง
ผอ.เขตเขตสัมพันธวงศ์ บนนถนนมหาจักรฝั่งชุมชนเรืองฤทธิ์ มีผู้ค้าขึ้นทะเบียนค้าขายกับทางกทม. เอาไว้ 86 ราย /ส่วนข้อพิพาทการตั้งร้านบนพื้นที่ถนนสาธารณะบดบังร้านค้าของผู้เช่าอาคารนั้นทั้ง2ฝ่ายต้องไปเคลียร์กันเอาเอง /ชี้พื้นที่บนถนนสาธารณะที่มีการขึ้นทะเบียนผู้ค้าเอาไว้ไม่สามารถปล่อยเช่าหรือเปลี่ยนชื่อเป็นผู้ค้ารายใหม่ ทางกทม.มีแต่ลดจำนวนผู้ค้าลงเท่านั้น
ขณะที่ นายชัยวัฒน์ รังษีภโนดร ผู้อำนวยการเขตสัมพันธวงศ์ ได้ชี้แจงกับสื่อมวลชนว่า ความเป็นมาของถนนมหาจักร แต่เดิมย้อนไปเมื่อ 20 กว่าปีก่อน จะมีผู้ค้ามาตั้งแผงค้าบนถนน ทำให้เกิดความไม่เป็นระเบียบ กรุงเทพมหานครจึงมีโครงการในอดีตที่มาจัดการความเป็นระเบียบเรียบร้อย ในปี 65 ได้มีการสำรวจผู้ค้าหาบเร่แผงลอย เพื่อเอามาขึ้นทะเบียนในระบบ ซึ่งแบ่งออกเป็นฝั่งฝั่งซ้ายและฝั่งขวา ซึ่งฝั่งที่เกิดเหตุที่ติดกับชุมชนเรือนฤทธิ์ มีการขึ้นทะเบียนเอาไว้ทั้งหมด 86 ราย ในการจัดระเบียบตรงนี้เพื่อให้ เจ้าของอาคาร ผู้ค้าและประชาชน รวมถึงการจราจรไม่ได้รับผลกระทบ
จากนั้นในปี 67 ทางกรุงเทพมหานครได้ออกประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขกำหนดพื้นที่ทำการค้า และขายจำหน่ายสินค้าบนถนน หรือสถานสาธารณะ เมื่อเดือนสิงหาคม 2567 ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการศึกษาว่า จุดที่มีอยู่เดิมจะสามารถนำมาเป็นจุดผ่อนผันทำทำการค้าได้หรือไม่ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนระหว่างการพิจารณา และผลการพิจารณาจะออกมาประมาณเดือนมิถุนายนนี้ ในตอนนั้นก็จะทราบว่าจุดดังกล่าวเหมาะที่จะเป็นจุดผ่อนผันให้ทำการค้าหรือไม่หากไม่เข้าหลักเกณฑ์ ผู้ค้าที่อยู่บริเวณดังกล่าวก็จะถูกบังคับให้ออกไปตามกฏหมาย
ซึ่งตัวเจ๊เหลียงเองได้ขึ้นทะเบียนบันทึกเอาไว้ว่าเป็นผู้ทำการค้าในบริเวณนั้น ซึ่งในบริเวณดังกล่าวกรุงเทพมหานครไม่ได้เก็บค่าเช่า ที่ขึ้นทะเบียนเอาไว้ทางกรุงเทพมหานครเพียงต้องการรู้ว่าผู้ทำการค้ามีอยู่กี่คน ประเด็นก็คือถ้าผู้ค้าไม่มาขาย หรือออกไป ทางกทม. จะไม่รับผู้ค้าเพิ่ม มีแต่ลดผู้ค้าและจัดระเบียบเท่านั้น และผู้ขึ้นทะเบียนเอาไว้ก็ไม่สามารถที่จะปล่อยพื้นที่ตรงนี้ให้คนอื่นเช่าได้ ในกรณีที่มีการนำพื้นที่ดังกล่าวไปปล่อยเช่า ทางกทม.ก็จะยกเลิกสิทธิ์ของการเป็นผู้ค้า
ซึ่งกรณีพิพาทที่เกิดขึ้น ต้องตกลงกันเองให้ได้ทั้ง 3 ฝ่าย คือ 1 เจ้าของอาคาร 2 ผู้ค้า 3 ประชาชนที่ใช้ถนน 3 ส่วนนี้ต้องไปด้วยกันให้ได้ ในกรณีที่เจ้าของอาคารมองว่าไม่เหมาะสมบังหน้าอาคารเค้า โดยปกติผู้ค้าก็ต้องย้ายออกไป ไปหาชุดอื่นที่จะสามารถทำการค้าและไม่บดบังได้ ซึ่งเรื่องของเอกชนที่ต้องคุยกัน ทางกทม. จะให้เค้าคุยกันเอง /ซึ่งตรงนี้ก็จะมีการเปลี่ยนผู้เช่าอาคารไปเรื่อยเรื่อยอยู่แล้วทางผู้เช่าอาคารก็ต้องเข้าใจว่าตรงนี้แต่เดิมมันมีแผงของร้านค้าอยู่ ตอนนี้ถ้าคุณจะให้เค้าไปคุณก็ต้องคุยกับเค้า ว่าจะตกลงกันจุดไหน
ในกรณีที่มีการคุยกันแล้วผู้เช่าแผงบนพื้นถนนยอมออกไปก็จะเข้าเกณฑ์ของกทม.คือลดผู้ค้าหรือจำนวนแผงลง /แต่หากผู้เช่าอาคารมาเช่าแผงต่อจากผู้ค้าก็ไม่ สามารถทำได้ เพราะกฎเกณฑ์ของกทม.คือลดจำนวนแผงไม่รับเพิ่ม /ไม่สามารถเปลี่ยนชื่อผู้ค้าได้ และแม้ทางเจ้าของอาคารจะยอมจ่ายเงินให้กับทางผู้ค้าเดิมก็ไม่สามารถที่จะมาตั้งแผงบนถนนมหาจักรได้เช่นเดียวกัน ทำได้เพียงปล่อยให้บริเวณนั้นโล่งเท่านั้น แต่การตกลงกันระหว่าง 2 ฝ่ายจะเป็นอย่างไร ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องตกลงกันเองว่าทำอย่างไร
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น