เปิดใจว่าที่แม่ทัพภาค 4 คนใหม่
เปิดใจว่าที่แม่ทัพภาค 4 คนใหม่
พลตรีไพศาล หนูสังข์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 ว่าที่แม่ทัพภาคที่ 4 คนใหม่ต่อจาก พล.ท.ศานติ ศกุนตนาค ประวัติโดยย่อ เกิดวันที่ 4 พฤศจิกายน 2508 มีภูมิลำเนาอยู่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา การศึกษาสายสามัญ จากการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่โรงเรียนวชิรานุกูล จังหวัดสงขลา ศึกษาต่อระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น สาขารัฐประศาสนศาสตร์
การศึกษาทางทหาร เป็นนักเรียนโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 25 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 36 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 76 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 64
ตำแหน่งราชการสำคัญ
1. เป็นผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 15 จ.นครศรีธรรมราช
2. ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ 46 จ.นราธิวาส
3. ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 5 จ.สงขลา และสตูล
4. รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 จ.ปัตตานี ยะลา นราธิวาสและอำเภอเทพา จ.สงขลาผู้
5. ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 รับผิดชอบ 14 จังหวัดภาคใต้
6. รองแม่ทัพภาคที่ 4 จ.นครศรีธรรมราช
การปฏิบัติหน้าที่ราชการสนาม ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2547
1. 1.หัวหน้าฝ่ายยุทธการ หน่วยเฉพาะกิจที่ 1 จ.ยะลา
2. 2.รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี 24 จ.ปัตตานี
3. 3.ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารพรานที่ 46 จ.นราธิวาส
4. 4.ผู้บังคับศูนย์ฝึกทางยุทธวิธี กองอำนวยการรักษาความมั่นคง ภายในภาค ๔ ส่วนหน้า จ.สงขลา
5. 5.ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารราบที่ 5 จ.สงขลา สตูล ยะลาและนราธิวาส
6. 6.ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า จ.ปัตตานี ยะลานราธิวาส และ อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย จ.สงขลา
7. 7.ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส จ.นราธิวาส
8. 8.ผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการข่าวกรอง กองอำนวยการ รักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า จ.ปัตตานี ยะลานราธิวาส และ อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย จ.สงขลา
9.รองผู้อำนวยการ รักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (1) จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และอำเภอจะนะ นาทวี เทพา สะบ้าย้อย จ.สงขลา
นโยบายหลังจากมีการส่งมอบตำแหน่งเป็นแม่ทัพภาคที่ 4
เมื่อรับมอบตำแหน่งจะใช้ประสบการณ์การทำงานในภาคใต้เกือบตลอดทั้งชีวิต สนองนโยบายผู้บังคับบัญชาหน่วยเหนือและสานต่อนโยบายของ พล.ท.ศานติ ศกุนตนาค อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 โดยถือคติ “ ทุกปัญหาย่อมมีทางออก “ โดยเฉพาะการสร้างความเข้าใจชาวบ้านระดับพื้นฐานในสังคมชุมชนสู่ระดับสังคมเมือง ดึงส่วนราชการมามีส่วนร่วมกับประชาชน ในการแก้ปัญหาให้ครอบคลุมทุกด้าน เราต้องเปิดใจกว้างคือเข้าใจก่อนแล้วจึงมีการให้ด้วยความจริงใจ เราจึงจะสามารถนั่งอยู่ในใจประชาชน ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือการส่งเสริมสังคมให้อยู่ร่วมกันแบบพาหุวัฒนธรรม เหมือนเฉดเช่นภาพในอดีตให้กลับคืนมา แม้ต่างเชื้อชาติศาสนาก็สามารถอยู่ด้วยกัน ช่วยเหลือจุ่นเจือกันด้วยความสมัครใจและรอยยิ้ม ก็จะสามารถขยายผลถึงความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาในทุกด้าน โดยเฉพาะปัญหาความมั่นคงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ ก็จะสามารถค่อยๆคลี่คลายไปในทางที่ดีได้
นราธิวาส/ข่าว-นูอารีซ๊ะ ยะยือริ
23 กันยายน 2567
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น