บังคับคดีเผย ประชาชนเชื่อมั่น
กรมบังคับคดีเผย ประชาชนเชื่อมั่นต่อกระบวนการบังคับคดีเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิม
วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 13.30 น.
นางทัศนีย์ เปาอินทร์ อธิบดีกรมบังคับคดี ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ พันตำรวจเอกหญิง ดร.กัญญ์ฐิตา ศรีภา ดร.ยงยุทธ แสนประสิทธิ์ ดร.สาลินี ขจรไพร และคณะผู้วิจัย บริษัท พีเอเอส คอนซัลแทนท์ แอนด์ รีเซิร์ซ์ จำกัด แถลงผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการที่มีต่แกระบวนการบังคับคดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ซึ่งมีผู้บริหารกรมบังคับคดี และสื่อมวลชน เข้าร่วมรับฟังการแถลงข่าว ณ โรงแรมใบหยกสกาย ชั้น 17 ห้องสกายรูม กรุงเทพมหานคร โดยผลจากการสำรวจพบว่า ค่าเฉลี่ย 9.20 คะแนน เชื่อมั่นต่อกระบวนการบังคับคดีในภาพรวม ซึ่งสูงกว่าปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ที่มีค่าเฉลี่ย 9.11 คะแนน
นางทัศนีย์ เปาอินทร์ อธิบดีกรมบังคับคดี แถลงว่า ภารกิจหลักของกรมบังคับคดีมีภารกิจด้านการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจกรรมของลูกหนี้ การชำระหนี้ การวางทรัพย์และการไกล่เกลี่ยตามกฎหมายให้ความเป็นธรรม โปร่งใส อละอำนวยความสะดวกแก่คู่ความทุกฝ่ายในคดี รวมถึงประชาชนผู้รับบริการตามแผนปฎิบัติราชการ ระยะ 5 ปี ของกรมบังคับคดี (พ.ศ.2566-2570) และกำหนดยุทธศาสตร์ การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐโดยมุ่งเน้นถึงความต้องการและประโยชน์สุขแก่ประชาชน ตลอดจนความพึงพอใจของประชาชน และเพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปสู่การพัฒนาองค์การ โดยสานต่องานเดิมสร้างเสริมงานใหม่ผ่านกลยุทธ์ที่สำคัญ ภายใต้ "Change Better to Be LED 5G*" ต่อยอด สร้างสรรค์ เน้นคุณค่า อย่างยั่งยืน
ดังนั้น การสำรวจความเชื่อมั่นของผู้รับบริการ ที่มีต่อกระบวนการบังคับคดี ในทุกด้าน โดยให้บุคคลภายนอก บริษัท พีเอเอส คอนซัลแทนท์ แอนด์ รีเชิร์ช จำกัด เป็นผู้ดำเนินการตามโครงการนี้เพื่อให้การสำรวจมีความเป็นมาตรฐาน น่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับ ตลอดจนมีความเป็นกลาง ปราศจากอคติ
รองศาสตร์ตราจาย์ พันตำรวจเอกหญิง ดร.กัญญ์ฐิตา ศรีภา พร้อมด้วย ดร.สาลินี ขจรไพร และคณะผู้วิจัย บริษัท พีเอเอส คอนซัลแทนท์ แอนด์ รีเซิร์ซ จำกัด แถลงว่า การวิจัยสำรวจในครั้งนี้ เป็นการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความเชื่อมั่นและความพึงพอใจของกระบวนการบังคับคดีให้ครอบคลุมใน 6 กระบวนการ ได้แก่ 1 . กระบวนการบังคับคดีแพ่ง 2.กระบวนการบังคับคดีล้มละลาย 3. กระบวนการฟื้นฟูกิจกรรมของลูกหนี้ 4.กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี 5.กระบวนการประมูลซื้อทรัพย์ 6.กระบวนการวางทรัพย์
ซึ่งผลจากการสำรวจ พบว่าจากการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการ ต่อกระบวนการบังคับคดี จากกลุ่มประชากรเป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 3,680 รายทั่วประเทศ โดยการสำรวจครั้งนี้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 ลักษณะ คือ การสำรวจด้วยแบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และ การจัดสนทนากลุ่ม โดยสรุปผลการสำรวจ ของความเชื่อมั่นและความพึงพอใจของประชาชนในภาพรวม มีค่าคะแนนดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา โดยมีค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการต่อกระบวนการบังคับคดีโดยภาพรวมอยู่ที่ 9.20 เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 9.11 ส่วนความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการต่อกระบวนการบังคับคดีโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 9.36
ทั้งนี้ การดำเนินงานที่เป็นจุดเด่นของกรมบังคับคดี ได้แก่ 1. นโยบายชัดเจน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) 2. ยืดหลักกฎหมาย ชื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส เป็นธรรม และจิตบริการ 3. เน้นคุณภาพการบริการ ไม่เลือกปฏิบัติ ผู้รับบริการเชื่อมั่นและพึงพอใจ 4. นำเทคโนโสยีเข้ามาสนับสนุนกระบวนงาน ตามการกิจหลักและระบบ Back office 4. เน้นประชาสัมพันธ์หลากหลายช่องทาง และประชาสัมพันธ์เชิงรุก ทั้งในเชิงป้องกันและแก้ไขปัญหา 5. มีกระบวนการบังคับคดีที่ช่วยเหลือและเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และ 6.มีการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นและผู้มีส่วนได้เสีย
ทั้งนี้ กรมบังคับคดีจะได้สำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการที่มีต่อกระบวนการบังคับคดีอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี เพื่อพัฒนาปรับปรุงการให้บริการเพื่อสร้างความเชื่อมั่น และความพึงพอใจให้กับประชาชนผู้รับบริการมากยิ่งขึ้นต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น