อีอีซี รวมพลังภาคีภาครัฐ-เอกชน

 อีอีซี รวมพลังภาคีภาครัฐ-เอกชน MOU หนุนใช้รถยนต์ไฟฟ้าขนส่งสาธารณะ และรับส่งพนักงานในพื้นที่ อีอีซี พร้อมร่วมพัฒนาระบบนิเวศน์การลงทุน นําร่องปี 66 เกิดรถโดยสารไฟฟ้า 100 คัน คาดใน 2 ปีเพิ่มเป็น 10,000 คัน ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก 5 แสนตัน/ปี จูงใจดึงลงทุนคลัสเตอร์ EV และ BCG รวม 40,000 ล้านบาท

วันที่ 28 ก.ย.2566 นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) การสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในระบบขนส่งสาธารณะ และ รถรับ-ส่งพนักงานในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ร่วมกับ นายกิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อํานวยการสํานักงานสภา นโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ นายชูกิจ ลิมปิจํานงค์ ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ศ.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย นายวีระเดช เตชะ ไพบูลย์ นายกสมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย (อาร์อี 100) และนายสุวิทย์ ธรณินทร์พานิช ประธานกรรมการมูลนิธิ พลังงานสะอาดเพื่อประชาชน เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือภาครัฐและเอกชน ในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีถ่ายทอด องค์ความรู้ ขับเคลื่อนการลงทุนและใช้ประโยชน์จากรถยนต์ไฟฟ้า ในระบบขนส่งสาธารณะ และรับส่งพนักงานใน ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ นําไปสู่การพัฒนาพื้นที่อีอีซี อย่างยั่งยืน ณ ห้อง Conference 1-2 สํานักงานอีอีซี

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการ อีอีซี กล่าวว่า การลงนามฯ MOU ครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือสําคัญจากภาคี ภาครัฐ และเอกชน เพื่อสนับสนุนการลงทุนในเศรษฐกิจ BCG ผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบนิเวศน์ ดึงดูดการลงทุน นวัตกรรมใหม่ โดยเฉพาะในคลัสเตอร์อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในพื้นที่ อีอีซี ซึ่งได้ตั้งเป้าหมายให้เป็นที่ตั้งและ ฐานการผลิต EV แห่งภูมิภาค โดยภายใต้กรอบความร่วมมือ MOU ดังกล่าว จะส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่แพร่หลาย ในระบบขนส่งสาธารณะ และการรับส่งพนักงาน ประชาชนในพื้นที่ อีอีซี เข้าถึงบริการดังกล่าวได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ผลักดันให้เกิดการผลิต และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานสะอาด สอดคล้องกับเป้าหมาย พัฒนาให้พื้นที่อีอีซี เป็นพื้นที่ Net Zero Carbon Emission ในภาคอุตสาหกรรม โดยระยะ 5 ปีแรก สามารถลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 10% และการลงทุนใหม่ในพื้นที่ 40% ต้องมีแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว สร้างการพัฒนาที่เป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเพื่อความยั่งยืน

ทั้งนี้ อีอีซี จะเชื่อมประสานความร่วมมือพัฒนากลไกการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นระบบ โดยทุกฝ่ายจะ ร่วมกันสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี การถ่ายทอดองค์ความรู้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับ การติดตั้งสถานี ชาร์ทไฟฟ้าเพื่อรองรับ รวมไปถึงขยายผลสร้างมูลค่าเพิ่มโครงการฯ โดยอีอีซี จะร่วมขับเคลื่อนพัฒนาระบบนิเวศน์จูงใจ ให้เกิดการลงทุน เช่น เรื่องสิทธิประโยชน์รูปแบบภาษีและไม่ใช่ภาษี การอํานวยความสะดวกเพิ่มความรวดเร็วในการขอ ใบอนุมัติ อนุญาต ที่อีอีซีสามารถออกใบอนุญาตแทนหน่วยงานต่างๆ ได้ถึง 44 ใบอนุญาต คาดว่าจะเริ่มได้ในต้นปี 2567 ซึ่งจากความร่วมมือ MOU ครั้งนี้ ได้ตั้งเป้าหมายสนับสนุนให้เกิดการลงทุนใน 2 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ สําคัญรวม 40,000 ล้านบาท แบ่งเป็น คลัสเตอร์ EV ประมาณ 30,000 ล้านบาท และคลัสเตอร์ BCG ประมาณ 10,000 ล้านบาท ในปี 2567

นายกิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อํานวยการสํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งชาติ (สอวช.) กล่าวว่า สอวช. ในฐานะหน่วยงานที่เป็นต้นน้ําในการผลักดันเทคโนโลยีของประเทศ เห็นถึงอนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบัน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถใน การแข่งขันของประเทศ (บพข.) ภายใต้ สอวช. ได้กําหนดกรอบการสนับสนุนทุนวิจัยในอุตสาหกรรมยานยนต์ไร้มลพิษ รวมถึงยานยนต์ไฟฟ้าด้วย ซึ่งจะเป็นการช่วยยกระดับการขับเคลื่อนด้านนวัตกรรม สําหรับความร่วมมือฯ ในครั้งนี้ จะ สนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี เกิดการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการในอุตสาหรรม ยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึง ระบบมาตรฐาน ซึ่งจะเป็นการช่วยยกระดับการขับเคลื่อนด้านนวัตกรรมต้นน้ําได้ และจะ สนับสนุนศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในอนาคต

นายชูกิจ ลิมปิจํานงค์ ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า การลงนาม MOU ครั้งนี้ สวทช. จะเป็นหน่วยงานด้านการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาของประเทศ ได้ดําเนินการวิจัย และพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าที่หน่วยงานดําเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การพัฒนาระบบ EV Charger การพัฒนาระบบขับ ขี่อัตโนมัติ เป็นต้น และ สวทช. มีความพร้อมในการสนับสนุนการทดสอบเทคโนโลยีในเชิงพาณิชย์ โดยความร่วมมือใน ครั้งนี้ จะสนับสนุนการนําเทคโนโลยีมาใช้จริง และเป็นการยกระดับระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่อีอีซี และจะสนับสนุน ผู้ประกอบในการทดสอบมาตรฐานเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นภารกิจสําคัญของ สวทช ที่ต้องการสนับสนุนเทคโนโลยีตั้งแต่ตน้ น้ําจนถึงปลายน้ําต่อไป

นายสุวิทย์ ธรณินทร์พานิช ประธานกรรมการมูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน กล่าวว่า การลงนาม MOU ครั้งนี้ จะเป็นโครงการนําร่องเพื่อเป็นต้นแบบการใช้รถโดยสารไฟฟ้า สําหรับขนส่งสาธารณะและรับ-ส่งพนักงาน สําหรับประชาชน เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในพื้นที่อีอีซี โดยคาดว่าในปี 2566 นี้จะเกิดรถโดยสารไฟฟ้า อย่างน้อย 100 คัน พร้อมสถานีชาร์ท ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 5 พันตันต่อปี เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และ พัฒนาวัตถุดิบสินค้าในประเทศ (local content) เพิ่มขึ้นจาก 40% เป็น 60% สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในประเทศ มากกว่า 360 ล้านบาท และคาดว่าภายใน 2 ปี หากสามารถปรับเปลี่ยนมาใช้รถโดยสารไฟฟ้าได้ 10,000 คัน จะมีมูลค่า การลงทุนมากกว่า 60,000 ล้านบาท เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในประเทศมากกว่า 48,000 ล้านบาท ลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกลงได้ 5 แสนตันต่อปี

#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย

ความคิดเห็น

ข่าวฮอตชัดทุกกระแส

วิเคราะห์ เจาะลึก วัตถุมงคลหลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน

“ธรรมาภิบาล”เร่งหารือ กกต.ให้จัดการเลือกตั้งใหม่

ฟุตบอลสูงอายุชิงถ้วย ร.10 68 ทีมร่วมฟาดแข้ง

ชมรมทหารพราน ค่ายปักธงชัย แจกข้าวสาร อาหารแห้ง ณ​ ชุมชนชาวคลองลัดภาชี

ราชกรีฑาสโมสรจัดศึกกีฬาม้าแข่งไร้พนันชิงชัยแบบนิวนอร์มัล

ไทย ต้านไม่ไหว พ่ายญี่ปุ่น 0-7

ทนายอนันต์ชัย โพสต์ FB ระบุ