เดินลัดเลาะขึ้นเทือกเขา
เดินลัดเลาะขึ้นเทือกเขาไปดูต้นลองกองอายุกว่า 250ปี ที่ยืนยาวที่สุดในโลกที่นราธิวาส ชาวบ้านนำไปปลูกขยายพันธุ์ทั่วไทย เป็นที่มาอันลือชื่อของลองกองซีโปตันหยงมัส
จากวงสนทนาในการจัดงานของดี ต.เฉลิม อ.ระแงะ จ.นราธิวาส บริเวณหน้าลานสนามฟุตบอล อบต.เฉลิม บ้านลูโบะกาเยาะ ม.5 ซึ่งยิ่งใหญ่ตระการตา มีการนำผลไม้ต่างๆอาทิ ทุเรียน เงาะ มังคุดและลองกองในพื้นถิ่นมาแสดง โดยเฉพาะผลไม้ลองกองซึ่งมีมากกว่า 1 ตัน ที่นำมาให้ชาวบ้านที่เดินทางมาร่วมงานกว่า 1,000 คน มาลิ้มรสชาดจนถูกปากในความหอมหวานของลองกองซีโปแท้ๆ ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่เมื่อลิ้นรสชาติแล้ว จึงถือโอกาสหยิบลองกองใส่ถุงเพื่อเป็นของฝากให้สมาชิกในครัวเรือนที่ไม่ได้เดินทางมาร่วมงานได้รับประทาน
เมื่อเสร็จกิจกรรมแล้วจึงได้มีการเชิญชวนกันเดินทางไปดูต้นลองกองซีโป ซึ่งถือว่าเป็นต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ที่มีอายุกว่า 250 ปี และมีการการันตีว่ามีอายุยืนยาวที่สุดในโลก ที่ชาวบ้านในอดีตและปัจจุบันทั่วประเทศได้นำเมล็ดลองกองของต้นนี้นำไปปลูกขยายพันธุ์เป็นทอดๆ จนปัจจุบันมีลองกองปลูกกันทั่วประเทศ แต่ต้องยอมรับว่าการปลูกในแต่ละพื้นที่ลองกองจะมีรสชาดแตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะผลลองกองที่ชาวบ้านเก็บเกี่ยวผลผลิตออกมาจำหน่ายตามท้องตลาด โดยเฉพาะพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกพื้นที่มักจะการันตีว่าเป็นลองกองตันหยงมัส ซึ่งถือว่าไม่ผิดเพี้ยนและไม่ได้มีการแอบอ้างชื่อของลองกองตันหยงมัสเพื่อเป็นการดึงดูดลูกค้า ซึ่งข้อเท็จจริงแล้วลองกองทุกพื้นที่ทั่วไทยเป็นการขยายพันธุ์เป็นทอดๆ จากต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ต้นหนึ่งเดียวต้นนี้
สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของต้นลองกองต้นนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลายเป็นตำนานแห่งลองกองซีโป คือ นายดอเลาะ โบสะอิ อายุ 82 ปี ปัจจุบันลองกองต้นนี้ยังให้ผลผลิตในทุกๆปีของช่วงฤดูกาล จะมีผู้หลักผู้ใหญ่สั่งจองเพื่อซื้อหาเป็นขอฝาก ทำให้ลองกองที่ปลูกขยายพันธุ์ในสวนที่มีต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์อายุกว่า 250 ปีดังกล่าว เป็นผลพลอยได้จากการสั่งซื้อไปด้วย แม้ราคาลองกองตามท้องตลาดในเกือบทุกๆปีจะตกต่ำเหลือเพียงกิโลกรัมละไม่กี่บาท แต่ลองกองสวนของนายดอเลาะ จะมีราคามาตรฐานจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 60 บาทขึ้นไป
ในโอกาสนี้เรายอมเสี่ยงและเสียเวลาที่จะเดินทางขึ้นไปพิสูจน์ต้นลองกองพ่อพันธุ์หรือแม่พันธุ์สายพันธุ์ซีโปตันหยงมัสแท้ๆ ที่สวนของนายดอเลาะ ซึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขาโต๊ะเจ๊ะนิอันเป็นบริเวณของเทือกเขาเมาะแต บ้านซีโป ม.3 ต.เฉลิม เพื่อให้ทุกคนได้เห็นต้นลองกองอายุกว่า 250 ปี ที่ยืนยาวที่สุดในโลกในครั้งนี้ ด้วยความร่วมมือของ นายอับดุลฮาเล็ง มะรูดี กำนัน ต.เฉลิม นายฮัจซันบาซอรี ดอเลาะ ผู้ใหญ่บ้านซีโป พ.อ.ทวีรัตน์ เบญจาทิกุล ผบ.ฉก.ทพ.45 และชาวบ้านอีกจำนวนหนึ่ง
ซึ่งการเดินทางในครั้งนี้ค่อนข้างลำบากและทุลักทุเล ต้องใช้ยานพาหนะเป็นรถกระบะโฟร์วิล หรือ ขับเคลื่อน 4 ล้อยกสูงเท่านั้น ที่ต้องขับฝ่าหนามฝ่าดงไปตามถนนลูกรังระหว่างล่องสวนยางพาราของชาวบ้านไปประมาณ 4 ถึง 5 ก.ม. หลังจากนั้นต้องเดินเท้าลัดเลาะไปตามร่องสวนยางพาราที่มีทางราดชันและคดเคี้ยว ผ่านเนินเขาสูงต่ำประมาณ 3 ถึง 4 เนิน เราจะพบกันแอ่งน้ำเล็กๆทอดยาวที่อยู่บนเทือกเขา ได้นั่งพักผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ทุกคนเริ่มจะมาอาการเมื่อยล้าแข้งขาที่เริ่มอ่อนแรง ก่อนที่ทุกคนจำใจต้องเดินต่อเพื่อให้ถึงจุดหมาย ซึ่งเป็นระยะทางยาวกว่า 500 เมตร ที่เป็นพื้นที่ราดชันสูงกว่าระดับน้ำทะเล ประมาณ 93 เมตร จนพบกับต้นลองกองที่กลายเป็นตำนานที่มีอายุกว่า 250 ปี ต้นดังกล่าวเหมือนกับความเหนื่อยล้าได้หายไปปลิดทิ้ง
สำหรับต้นลองกองในตำนานต้นดังกล่าว ทุกคนจะมโนและคิดว่าคงเป็นต้นลองกองที่ขึ้นตระหง่าน อยู่กลางป่าบนเทือกเขาเพียงต้นเดียวแต่จริงๆแล้วไม่ใช่ มันจะมีต้นลองกองที่กลายเป็นตำนานขึ้น 2 ต้นเคียงคู่กัน ต้นใหญ่สุดจะมีขนาดลำต้นประมาณ 2 คน โอบ สูงประมาณ 25 เมตร มีกิ่งก้านใบแพรเป็นเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 5 เมตร ส่วนตัวเล็กมีขนาดลำต้นความสูงและมีกิ่งก้านใบแพรเป็นวงกว้างลดหลั่นลงมาเล็กน้อย และจากการสังเกตที่บริเวณใต้โคนของต้นลองกองที่กลายเป็นตำนานทั้ง 2 ต้น เราจะสังเกตพบเห็นว่าทั้ง 2 ต้น ได้แตกแขนงออกมาจากรากของต้นลองกองต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่คาดว่า ถ้าไม่ล้มตายจะมีอายุยืนยาวเกือบ 500 ปีเลยทีเดียว
ต่อมาทางคณะผู้ที่ได้ร่วมกันเดินทางขึ้นไปพิสูจน์ ต้นลองกองที่กลายเป็นตำนานได้พบเห็นลูกลองกองจำนวนหนึ่ง ที่ยังหลงเหลืออยู่บนต้น จึงได้ขึ้นไปเก็บเกี่ยวลงมาในการพิสูจน์รสชาติ ว่าต้นลองกองซีโปในตำนานจะมีรสชาดหอมหวานเป็นที่กล่าวขานหรือไม่ เมื่อลิ้มรสชาติต่างยกนิ้วให้ว่าอร่อยหองหวาน ถือว่าครั้งหนึ่งในชีวิตได้ลิ้มรสชาดผลลองกองในตำนานจริงๆสักครั้ง
ด้านนายดอเลาะ เจ้าของต้นลองกองในตำนาย นายฮ้จซันบาซอรี ผู้ใหญ่บ้านซีโป และ พ.อ.ทวีรัตน์ ผบ.ฉก.ทพ.45 ได้ร่วมกันเปิดเผยเกี่ยวกับต้นลองกองในต้นนาน ซึ่งนายดอเลาะ ได้เปิดเผยเป็นภาษายาวีท้องถิ่น ส่วนนายฮัจซันบาซอรี และ พ.อ.ทวีรัตน์ ได้ช่วยกันเป็นล่ามแปลมีใจความว่า คือสมัยก่อนมีเจ้าเมืองเขาระแงะให้ควาญช้างไปเลี้ยงช้างบนภูเขา ไปเจอกับลูกลองกองเห็นเป็นลูกของผลไม้ที่แปลก จึงขึ้นไปตัดแล้วอุ้มไปถวายให้กับเจ้าเมือง ซึ่งคำว่าอุ้มภาษายาวีท้องถิ่น คือ คำว่าดูกง หลังจากนั้นดูกงก็ได้เพี้ยนจากคำพูดของชาวบ้านซึ่งเป็นมุสลิมในท้องถิ่น มักจะพูดภาษาไทยออกเป็นคำพูดทองแดงหรือไม่ชัด จึงเป็นคำว่าลองกองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้
นราธิวาส/ข่าว-นูอารีซ๊ะ ยะยือริ
7 กันยายน 2566
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น