DSI ดำเนินคดีลักลอบนำสารพาราควอต

DSI ดำเนินคดีกับผู้ลักลอบนำสารพาราควอตซึ่งเป็นวัตถุอันตรายผสมยากำจัดวัชพืช ศาลพิพากษาจำคุกทุกราย ไม่รอการลงโทษ !!

​​พันตำรวจตรี สุริยา สิงหกมล รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผยว่า ตั้งแต่ช่วงปี 2562 เป็นต้นมา กรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยกองคดีคุ้มครองผู้บริโภค ได้ดำเนินการมาตรการเชิงรุกในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ด้วยการบูรณาการและร่วมมือกับสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ในการปราบปรามผู้ประกอบการที่ลักลอบนำสารพาราควอต (Paraquat) หรือที่รู้จักในชื่อทางการค้าว่า กรัมม็อกโซน (Grammoxone) ซึ่งเป็นวัตถุอันตราย มาผสมในผลิตภัณฑ์กำจัดวัชพืช และหลอกขายผู้บริโภคผ่าน
สื่อสังคมออนไลน์ว่าเป็นสารชีวภัณฑ์ปลอดสารพิษ ซึ่งคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้ทำการตรวจค้นสถานที่ลักลอบผลิตในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี, จังหวัดปทุมธานีและจังหวัดนครราชสีมา รวมจำนวน 5 แห่ง พร้อมทั้งยึดของกลาง และได้สอบสวนขยายผลดำเนินคดีมาอย่างต่อเนื่อง
​​
โดยในคดีพิเศษที่ 74/2562 กรณีผู้ประกอบการในจังหวัดนครราชสีมา มีพฤติการณ์ผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์กำจัดวัชพืช อ้างว่าเป็นสารชีวภัณฑ์ปลอดสารพิษนั้น ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562 ในคดีหมายเลขแดงที่ อ.395/2566 พิพากษาให้จำคุกผู้ต้องหาทุกราย ไม่รอการลงโทษ

​​นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 นายวรรณชัย พรหมรักษ์ รองผู้อำนวยการกองคดีคุ้มครองผู้บริโภค ได้นำสำนวนคดีพิเศษที่ 73/2562 กรณีนิติบุคคลในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีลักลอบนำสารพาราควอตซึ่งเป็นวัตถุอันตรายเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์กำจัดวัชพืช หลอกขายผู้บริโภคผ่านสื่อโซเชียลมีเดียว่าเป็นสารชีวภัณฑ์ ส่งพนักงานอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมความเห็นควรสั่งผู้ต้องหาจำนวน 6 ราย ในความผิดฐานร่วมกันกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย, กฎหมายว่าด้วยปุ๋ย,กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข และกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

สำหรับสารพาราควอตดังกล่าวนี้ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2563 ได้กำหนดว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 สารพาราควอตถือเป็นวัตถุอันตราย

ชนิดที่ 4 ซึ่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้ว่าห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอัตรายชนิดที่ 4 เว้นแต่ได้รับอนุญาต หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งในส่วนของกรมสอบสวนคดีพิเศษนั้น นอกจากจะดำเนินคดีตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว หากพบพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้ ก็จะพิจารณาขยายผลในความผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย

กรมสอบสวนคดีพิเศษ ขอฝากประชาสัมพันธ์ถึงประชาชน หากท่านพบว่าผลิตภัณฑ์กำจัดวัชพืชใด ไม่มีเลขทะเบียนหรือเลข วอ หรือไม่ระบุที่มาของแหล่งผลิตผู้จำหน่าย สามารถตรวจสอบกับกรมวิชาการเกษตรได้ที่ โทร.0 2940 5434 หรือหากพบเห็นผู้ฝ่าฝืน แจ้งมาที่สายด่วน 1202 กรมสอบสวนคดีพิเศษ (โทรฟรี)  


ความคิดเห็น

ข่าวฮอตชัดทุกกระแส

วิเคราะห์ เจาะลึก วัตถุมงคลหลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน

“ธรรมาภิบาล”เร่งหารือ กกต.ให้จัดการเลือกตั้งใหม่

ฟุตบอลสูงอายุชิงถ้วย ร.10 68 ทีมร่วมฟาดแข้ง

ชมรมทหารพราน ค่ายปักธงชัย แจกข้าวสาร อาหารแห้ง ณ​ ชุมชนชาวคลองลัดภาชี

ราชกรีฑาสโมสรจัดศึกกีฬาม้าแข่งไร้พนันชิงชัยแบบนิวนอร์มัล

ไทย ต้านไม่ไหว พ่ายญี่ปุ่น 0-7

ทนายอนันต์ชัย โพสต์ FB ระบุ