"ลงทุนกับตำรวจ....คุ้มค่าหรือไม่ ?

"ลงทุนกับตำรวจ....คุ้มค่าหรือไม่ ? 
ศาสตราจารย์  พลตำรวจโท ดร.พิศาล มุขแจ้ง !!

ข่าวปัญหาการทุจริตของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกิดขึ้น มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์และวิกฤตศรัทธาของประชาชนที่มีต่อองค์กรตำรวจ หากจะวิเคราะห์ถึงสาเหตุรากเหง้าของปัญหา และเหตุใดในประเทศที่เจริญแล้วจึงไม่ค่อยมีปัญหาเช่นนี้ ในฐานะที่เคยเป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจ และเคยไปฝึกอบรมวิชาการตำรวจในต่างประเทศ ขอนำประสบการณ์มาถ่ายทอดดังนี้
 
ปัญหาการประพฤติผิดนอกลู่นอกทางของตำรวจ เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่รัฐบาลไม่เห็นความสำคัญในคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของตำรวจเท่าที่ควร ให้เงินเดือนและค่าตอบแทนตำรวจไม่เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบ ขาดระบบการตรวจสอบการทุจริตที่เข้มแข็ง อีกทั้งองค์กรถูกแทรกแซงจากอำนาจภายนอก เส้นทางการเจริญก้าวหน้าในอาชีพ ( Career Path ) ไม่มั่นคง จึงทำให้ตำรวจที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ขาดจิตสำนึก ขาดการยับยั้งชั่งใจ เมื่อมีช่องโอกาส จึงตัดสินใจกระทำผิด อีกทั้งทำให้มีตำรวจบางนายกระทำทุกอย่างเพื่อให้ตนบรรลุเป้าหมายโดยไม่สนใจคุณธรรม เกียรติยศ ศักดิ์ศรีของความเป็นตำรวจ สภาพเช่นนี้เปรียบเสมือนโรคร้ายในองค์กร ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในภาพรวม  

ในทางทฤษฎี องค์กรตำรวจและหน่วยงานที่ทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย (law Enforcement Agency) ถือว่าเป็นหน่วยงานพิเศษ มีอำนาจในการตรวจค้น จับกุม คุมขัง อันมีผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพของบุคคล บุคลากรในสายงานนี้ต้องได้รับการปลูกฝังด้านคุณธรรม ( Super Ego )อย่างจริงจัง  เพื่อใช้ดุลพินิจอย่างตรงไปตรงมา และต้องมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ดังนั้น สมควรได้รับเงินเดือนและค่าตอบแทนที่เหมาะสม เพื่อให้เพียงพอต่อการดำรงชีพ สามารถรักษาเกียรติของตนอย่างสมศักดิ์ศรี โดยมิต้องไปแสวงหาผลประโยชน์ใดๆ และในขณะเดียวกันจะต้องมีระบบตรวจสอบการทุจริตที่เข้มแข็ง และมีกฎหมายลงโทษการอย่างรุนแรง รวดเร็ว และแน่นอน เพื่อเป็นการป้องปรามมิให้ทุจริต 

ในทางปฏิบัติแนวคิดทฤษฎีนี้ ถูกนำไปใช้ในหลายประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งในทวีปยุโรป สหรัฐอเมริกาและบางประเทศในทวีปเอเชีย ดังนั้นรัฐบาลจะทุ่มเทงบประมาณอย่างเต็มที่ในการจัดหาบุคลากรให้เพียงพอกับปริมาณงาน ให้ความสำคัญกับระบบการศึกษา การฝึกอบรมหรือพัฒนาบุคลากร และให้ค่าตอบแทน เงินเดือนที่สูง จัดอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย มีสมรรถนะสูงให้มีจำนวนเพียงพอ และมีระบบการเลื่อนตำแหน่ง (POLICE PROMOTION SYSTEM ) ที่ชัดเจนโปร่งใสและเป็นธรรม มีเส้นทางการเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ มีระบบสวัสดิการที่ดี เช่นที่พักอาศัย มีระบบการประกันชีวิตและสุขภาพ มีเงินค่าล่วงเวลา โบนัส กล่าวได้ว่าแม้ว่ากำลังพลในหน่วยงานจะมีเท่าใด ตำรวจไม่ว่าจะชั้นยศใด ตำแหน่งใด หรืออยู่ในหน่วยใด พื้นที่ใด ตำรวจทุกคนต่างก็ได้รับการดูแล สนับสนุนปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพอย่างเหมาะสมและเพียงพอ มีความสุขตามอัตภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดีใกล้เคียงกัน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นแรงจูงใจให้ตำรวจปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในอารยประเทศ อาชีพตำรวจเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากประชาชน มีความมั่งคงทางเศรษฐกิจ ประกอบกับในระบบตำรวจมีการตรวจสอบการทุจริตและการลงโทษที่จริงจัง ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นของตำรวจมีน้อยมาก 

                 
วิกฤตปัญหาที่เกิดขึ้นชี้ให้เห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องแก้ไขปัญหานี้จากต้นเหตุรากเหง้าของปัญหา โดยต้องทุ่มเทงบประมาณลงทุนกับองค์กรตำรวจไทย ซึ่งมีกำลังพลประมาณ 230,000 คน เช่นเดียวกับอารยประเทศ ที่ปฏิบัติต่อบุคลากรในหน่วยงานที่ทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย โดยปรับเงินเดือนและค่าตอบแทนให้สูงขึ้น เพิ่มอัตรากำลังให้เพียงพอกับปริมาณงาน จัดอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย และมีการพัฒนาด้านการศึกษาและคุณธรรม มีระบบการเลื่อนตำแหน่งที่ชัดเจน และเป็นธรรม ตลอดจนมีระบบตรวจสอบการทุจริตที่เข็มแข็ง อีกทั้งมีการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง หากรัฐลงทุนเช่นนี้ จะทำให้ตำรวจมีจำนวนที่เพียงพอ มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน ตำรวจมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีคุณธรรม มีความภาคภูมิใจในวิชาชีพ สามารถรักษาเกียรติและศักดิ์ศรี ไม่ทุจริตประพฤติมิชอบ และไม่กล้ากระทำผิด 
                    
สรุปได้ว่า การลงทุนกับตำรวจในระดับมาตรฐานสากลเป็นสิ่งจำเป็น ควรค่าและคุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะเมื่อตำรวจได้รับการดูแลจากรัฐในระดับที่สูงขึ้น ตำรวจก็จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ดังนั้น ประชากร 66 ล้านคน จะได้รับการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในระดับมาตรฐานสากลเช่นกัน และที่สำคัญ สังคมในชาติจะเป็นสังคมที่น่าอยู่และปลอดภัย เป็นการส่งเสริมบรรยากาศการค้าการลงทุน อันนำไปสู่ความเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วต่อไป 

                                                                  •ปรับเงินเดือนและค่าตอบแทนตำรวจให้สูงขึ้น จัดระบบสวัสดิการที่ดี
•เพิ่มจำนวนบุคลากรให้เพียงพอกับปริมาณงาน
•จัดหาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย มีสมรรถนะที่สูง และมีจำนวนเพียงพอ 
•มีระบบการเลื่อนตำแหน่งที่ชัดเจน และเป็นธรรม (POLICE PROMOTION SYSTEM )
•พัฒนาระบบการศึกษา การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมตำรวจ
•พัฒนาระบบการตรวจสอบการทุจริตที่เข้มแข็ง
•มีกฎหมายลงโทษอย่างรุนแรง (Severity) รวดเร็ว (Swiftness) และแน่นอน (Certainty)  

•ตำรวจมีจำนวนที่เพียงพอ มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน
• มีคุณภาพชีวิตที่ดี
• มีคุณธรรม และจิตสำนึกในความเป็นตำรวจ
• มีเส้นทางการเจริญก้าวหน้าในอาชีพ ( Career Path ) ที่มั่นคง
• มีขวัญและกำลังใจ ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
• ประพฤติตนอยู่ในระเบียบแบบแผน ไม่ทุจริต ประพฤติมิชอบ และไม่กล้ากระทำผิด


•ประชาชน มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 
•สังคมสงบสุข ปลอดภัย 

หลักสูตร กอส.ยังมีความจำเป็นต่อ สตช.หรือไม่ 

1.เรื่อง หลักสูตร กอส.เป็นหลักสูตรที่ดีและมีความจำเป็น รีบคน้ก่งสาขาที่เรียนยาก ขาดแคลน หมอ วิศวะ สถาปัตย์ ภาษาต่างประเทศ และนักกีฬาทีมชาติไทย ที่เสียสละสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย จบจาก จุฬา ธรรมศาสตร์ มหิดล ้เกษตร จาก ม.ต่างประเทศ ฯลฯ  ใครทำไม่ดี ก็เป็นรายบุคคล                           
2.เรื่องเป็นตำรวจคุ้มค่าหรือไม่ มาขยายดูกันจากบทความ

หลักสูตร กอส.“หลักสูตรการฝึกอบรมข้าราชการตำรวจและบุคคลที่บรรจุหรือโอนมาเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร” เป็นหลักสูตรที่มีประวัติยาวนานกว่า 40 ปีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยท่านพลตำรวจเอก สุรพล จุลละพราหมณ์ เป็นอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งท่านเห็นว่า มีตำรวจชั้นประทวนจำนวนหนึ่งมีคุณวุฒิปริญญา ยังไม่ได้รับการปรับคุณวุฒิเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร มีข้าราชการทหารจากเหล่าทัพต่าง ๆ ขอโอนมาเป็นตำรวจ มีหมอ พยาบาลสมัครใจมารับราชการตำรวจ ซึ่งต้องแต่งเครื่องแบบตำรวจ และมีบางหน่วยงาน เช่น กองพิสูจน์หลักฐาน ต้องรับสมัครบุคคลภายนอกที่มีคุณวุฒิทางวิทยาสตร์ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ซึ่งถือว่าเป็นวุฒิหรือสาขาที่ขาดแคลนเข้ามาเป็นข้าราชการตำรวจ ดังนั้น กรมตำรวจจึงจัดให้มีหลักสูตร กอส.ขึ้นเพื่อฝึกอบรมบุคคลเหล่านี้ เพื่อเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติในระเบียบวินัย ของตำรวจที่จะต้องประพฤติปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ตามระเบียบแบบแผน เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกันของกำลังพลทุกนาย
ผมเป็นคนหนึ่งที่มีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรนี้ เมื่อปี พ.ศ.2525 นับว่าเป็นรุ่นแรก หรือ กอส.รุ่นที่ 1 มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมประมาณ 90 นาย ส่วนใหญ่เป็นตำรวจเก่า เป็นชั้นประทวนมาก่อน เพื่อนบางคนจบโรงเรียนนายร้อย จปร.โรงเรียนนายเรืออากาศ ขอโอนมาเป็นตำรวจ และยังมีเพื่อนตำรวจน้ำที่ได้ทุนกรมตำรวจไปศึกษาในโรงเรียนนายเรือ อีกทั้งมีจำนวนไม่น้อยที่เป็นบุคคลภายนอก ซึ่งเป็นผู้มีคุณวุฒิในสาขาวิชาที่ ตร.ขาดแคลน เพื่อนบางส่วนเป็นพยาบาล และยังจำได้ว่ามีเพื่อนคนหนึ่งจบมาจากโรงเรียนตำรวจไต้หวัน การฝึกอบรมที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน เมื่อจบหลักสูตรแล้ว เพื่อนในรุ่นส่วนใหญ่ออกไปเป็นพนักงานสอบสวนในพื้นที่ต่างๆ ส่วนที่เหลือกลับไปทำงานในหน่วยของตน เช่น กองพิสูจน์หลักฐาน โรงพยาบาลตำรวจ ฯลฯ
              
ต่อมาหลักสูตร กอส.มีการรับทายาทข้าราชการตำรวจที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ และรับนักกีฬาที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติมาเป็นตำรวจ การฝึกอบรมหลักสูตรนี้ มีการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี เฉลี่ยปีละ 1 รุ่น จนถึงปัจจุบัน ผมเห็นว่าผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรนี้ ส่วนใหญ่ปฏิบัติหน้าที่สมกับเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ บางท่านอยู่หน่วยสนับสนุนก็ตั้งอกตั้งใจทำงาน ทำประโยชน์ให้แก่องค์กรตำรวจและประชาชนเป็นที่ประจักษ์ บางท่านรับราชการมีความเจริญก้าวหน้าเป็นถึงรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แต่น่าเสียดายและเสียใจเป็นอย่างยิ่งกับข่าวที่ปรากฏว่า มีผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร กอส.โดยเฉพาะในรุ่นหลังๆ หลายนายมีพฤติกรรมพัวพันกับเครือข่ายเว็บพนันออนไลน์ ธุรกิจสีเทา หรือใช้ความเป็นตำรวจแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ไม่ทำงานในหน้าที่รับผิดชอบ ขาดจิตสำนึกและจิตวิญญาณในความเป็นตำรวจ สร้างความเสียหายให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังทำให้สังคมมองภาพลักษณ์ผู้ที่จบหลักสูตร กอส.ในทางลบ ถึงขนาดเสนอความเห็นให้ยกเลิกหลักสูตร กอส. เสียเลย ซึ่งพฤติกรรมการกระทำผิดเป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคล มิใช่เป็นเรื่องในเชิงระบบ ที่ถึงขนาดจะต้องยกเลิกไปเลย  ดังนั้น หากว่าบุคคลกลุ่มนี้มีการกระทำผิดจริง สมควรที่จะได้รับการลงโทษทางอาญาและวินัยอย่างเฉียบขาด เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ข้าราชการตำรวจทั่วไป 
อย่างไรก็ตาม ผมยังเห็นว่าหลักสูตร กอส.นี้ยังมีความจำเป็น เนื่องจากทั้งหน่วยหลักและหน่วยสนับสนุนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังคงต้องใช้บุคลากรเฉพาะทางในเชิงวิชาชีพ ผู้มีความรู้ ความสามารถในสาขาวิชาที่ขาดแคลน เช่น นักวิทยาศาสตร์ วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรโยธา วิศวกรการบิน  ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ การเงิน แพทย์ พยาบาล นักบัญชี อาจารย์ในภาควิชาการต่างๆ ตลอดจนผู้มีความรู้ภาษาต่างประเทศ ฯลฯ และอีกทั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ยังไม่สามารถที่จะผลิตบุคลากร ให้ครอบคลุมในสาขาวิชาชีพที่มีความจำเป็นจะต้องนำมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะทางนี้ได้ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กอส.รุ่นต่อๆ ไปคงจะเป็นบุคคลคุณภาพ เป็นตัวช่วยที่มีความสำคัญ เสริมสร้างเขี้ยวเล็บให้หน่วยงานต่างๆของ สตช.ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

#ศาสตราจารย์ พลตำรวจโท ดร.พิศาล มุขแจ้ง กอส.รุ่นที่ 1


///////////////////////////

ความคิดเห็น

ข่าวฮอตชัดทุกกระแส

วิเคราะห์ เจาะลึก วัตถุมงคลหลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน

“ธรรมาภิบาล”เร่งหารือ กกต.ให้จัดการเลือกตั้งใหม่

ฟุตบอลสูงอายุชิงถ้วย ร.10 68 ทีมร่วมฟาดแข้ง

ชมรมทหารพราน ค่ายปักธงชัย แจกข้าวสาร อาหารแห้ง ณ​ ชุมชนชาวคลองลัดภาชี

ราชกรีฑาสโมสรจัดศึกกีฬาม้าแข่งไร้พนันชิงชัยแบบนิวนอร์มัล

ไทย ต้านไม่ไหว พ่ายญี่ปุ่น 0-7

ทนายอนันต์ชัย โพสต์ FB ระบุ