ดนตรีเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน

“ดนตรีเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน และสร้างอารยะให้กับเมือง”

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.กมล รอดคล้าย ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้ชี้เเจงถึงผลงานนักเรียนตามโครงการอบรมค่ายพัฒนาเยาวชนนักร้องประสานเสียง THE SPO CHORUS ของวงดุริยางค์สากลฟิลฮาร์โมนิคเเห่งสงขลา ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา โดยกล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีนายบัญญัติ จันทน์เสนะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธานมูลนิธิเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ เป็นประธานเปิดโครงการอบรมในครั้งนี้ โดยได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน อาทิ รศ.ดร. ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี ม.ราชภัฎสงขลา /ผศ.วีระศักดิ์ อักษรถึง คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ /ดร.ประสิทธิ์ หนูกุ้ง ผอ.สพม.สงขลา สตูล /นายอำเภอและผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู-นักเรียน ใน 16 อำเภอ ของ จ.สงขลา โดยโครงการอบรมนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-10 ก.พ. 2566

วงดุริยางค์สากลฟิลฮาร์โมนิคเเห่งสงขลา(SPO) จัดตั้งขึ้นเพื่อสืบสานปณิธาน “ป๋าเปรม” รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ต้นแบบของคนทำดี ซึ่งเคยมีดำรินำดนตรีมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน และสร้างอารยะให้กับเมือง ดังนั้น เมืองสงขลาจึงได้กำเนิด“หอเปรมดนตรี” ซึ่งเป็นหอดนตรีที่มีระบบเสียงดีที่สุด 1 ใน 4 ของประเทศ และวงดนตรีออคสตรร้าระดับสากล ชื่อ“วงดุริยางค์สากลฟิลฮาร์โมนิคเเห่งสงขลา” SPO (Songkla philharmonic Orchestar) เพื่อที่จะสร้างอารยะให้เมืองสงขลา

ดร.กมล รอดคล้าย ที่ปรึกษา รมช.ศธ.ได้กล่าวย้ำคำกล่าวของ“ป๋าเปรม”ว่า“ดนตรีทำให้ผมมีความสุข แต่ผมจะสุขที่สุดถ้าดนตรีส่งผลดีต่อแผ่นดิน “ โครงการอบรมค่ายพัฒนาเยาวชนนักร้องประสานเสียง THE SPO CHORUS ในครั้งนี้เป็นการฝึกอบรมเพื่อที่จะจัดตั้งวงดนตรีเยาวชนของเมืองสงขลา โดยการคัดเลือกเยาวชนจาก 16 อำเภอของสงขลา เพื่อให้เยาวชนและประชาชนในสงขลามีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง และรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของแผ่นดินเกิดและวงดุริยางค์สากลฟิลฮาร์โมนิคเเห่งสงขลา ซึ่งในครั้งแรกนี้จะเป็นการอบรมและคัดเลือกนักร้องประสานเสียง ฝึกเทคนิคการร้อง การออกเสียง แบบคอรัส โดยใช้เพลง 3 เพลง คือ เพลงสงขลาฝั่งนที เพลงยิ้มสู้ และเพลง Heal The World

เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากหอเปรมดนตรีได้อย่างเต็มศักยภาพ ในอนาคตจะเปิดโอกาสให้ประชาชนและเยาชนที่มีความสามารถด้านดนตรีได้มา Audition หรือยกวงมาประกวดกัน และจะจัดให้มีการแสดงแบบผสมผสานกับดนตรีพื้นถิ่น เชื่อว่าดนตรีจะเป็นเครื่องมือในการกล่อมเกลาจิตใจเยาวชนให้สำนึกรักในบ้านเกิด เกิดความภาคถูมิใจในถิ่นกำเนิด สร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนๆ และสร้างอารยะให้กับเมืองได้ด้วย

แนวทางในการพัฒนาวง SPO นั้น เราจะเดินสายการแสดงทั้งในประเทศ และต่างประเทศในแถบอาเซียน รวมทั้งขยายผลไปยังประเทศอื่นๆ ที่มีกิจกรรมเหมือนกัน และในปีนี้จะมีการแสดงดนตรีอีกอย่างน้อย 3 ครั้ง ครั้งแรกจะจัดขึ้นใน“วันสงขลา” เดือนมีนาคมนี้ ซึ่งจะเป็นการแสดงกลางแจ้ง ส่วนครั้งที่ 2 และ 3 จะเป็นการแสดงในหอประชุม ครั้งที่ 2 ในเดือนสิงหาคม การแสดงครั้งที่ 3 จะจัดในช่วงเดือนธันวาคม โดยเราจะเชิญแขกจากต่างประเทศมาร่วมรับฟังด้วย  

ความคิดเห็น

ข่าวฮอตชัดทุกกระแส

วิเคราะห์ เจาะลึก วัตถุมงคลหลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน

ทนายอนันต์ชัย โพสต์ FB ระบุ

“ธรรมาภิบาล”เร่งหารือ กกต.ให้จัดการเลือกตั้งใหม่

ฟุตบอลสูงอายุชิงถ้วย ร.10 68 ทีมร่วมฟาดแข้ง

ชมรมทหารพราน ค่ายปักธงชัย แจกข้าวสาร อาหารแห้ง ณ​ ชุมชนชาวคลองลัดภาชี

ราชกรีฑาสโมสรจัดศึกกีฬาม้าแข่งไร้พนันชิงชัยแบบนิวนอร์มัล

ไทย ต้านไม่ไหว พ่ายญี่ปุ่น 0-7