มด & จักจั่น คู่หูนักพยากรณ์

มด & จักจั่น คู่หูนักพยากรณ์ ความเชื่อของมนุษย์จากพฤติกรรมสัตว์

เขาว่ากันว่าความเชื่อเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ โดยการยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริงหรือเป็นสิ่งที่เราไว้ใจ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความจริงที่ตรงตามหลักเหตุผลหรือหลักวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อเรื่องเครื่องรางของขลัง ฤกษ์ยาม หรือแม้แต่การทำนาย (พยากรณ์) เป็นต้น

ในอดีตคนต่างจังหวัดส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พวกเขาต้องรู้ถึงสภาพของฝน ฟ้า อากาศ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อการเพาะปลูก ชาวบ้านในต่างจังหวัดจะมีวิธีการพยากรณ์ฝน ฟ้า อากาศโดยการสังเกตสิ่งต่าง ๆ รวมถึงความเชื่อที่บอกเล่าสืบต่อกันมายังรุ่นสู่รุ่น 

การชอบสังเกตของมนุษย์ ทำให้เกิดเป็นการพยากรณ์ได้ จากการดูพฤติกรรมของสัตว์แต่ละชนิดที่มีปฏิกิริยาตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ วันนี้เราจะมายกตัวอย่างสัตว์สองชนิดที่ชาวบ้านในอดีตใช้ในการพยากรณ์ฝน ฟ้า อากาศ สัตว์สองชนิดนั้นก็คือ มด และ จักจั่น

มด เป็นสัตว์ที่ไวต่ออุณหภูมิและความชื้น จึงถือได้ว่าเป็นนักเตือนภัยชั้นยอด เพราะมดอาศัยอยู่ใต้ดินพวกมันจะมีสัญชาติญาณการรับรู้และเอาตัวรอดได้ดีกว่ามนุษย์ ทำให้พวกมันมีการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์ได้อย่างยาวนาน 

การพยากรณ์ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของมด ได้แก่ เมื่อเห็นมดขนไข่หรืออพยพเดินทางจากที่ลุ่มไปยังที่ดอนเดินกันเป็นแถวเป็นระเบียบและคาบไข่ของตนเองไปด้วยแสดงว่าจะเกิดฝนตกหนัก ถ้าเห็นมดทำขุย ( คันดิน ) เป็นสันล้อมรูเป็นวงกลมสวยงามน้ำจะดีตลอดปี ถ้ามดแดงทำรังบนต้นไม้สูงปีนั้นลมฝนจะไม่แรงและถ้าเห็นประชากรมดแดงใหญ่ ( แม่เป้ง ) เดินเพ่นพ่านจะเข้าสู่ฤดูฝน เป็นต้น

จักจั่น เป็นแมลงที่อยู่มาตั้งแต่ยุคไทรแอสสิก (Triassic) ถ้าพูดให้เห็นภาพก็คือเป็นยุคจุดเริ่มต้นของไดโนเสาร์นั้นเอง จักจั่นอาศัยอยู่ในบริเวณเขตร้อน เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นแมลงที่มีขนาดใหญ่ ส่งเสียงได้ไพเราะ และเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว

เรามักจะได้ยินเสียงร้องของพวกมันในช่วงฤดูร้อน เพราะเป็นช่วงเวลาที่พวกมันต้องหาคู่ครอง โดยเสียงที่พวกเรามักจะได้ยินเป็นเสียงร้องของตัวผู้ พวกมันจะแสดงพลังเสียงให้ตัวเมียได้เห็นศักยภาพและทำให้เกิดความพึงพอใจ เสียงร้องของจักจั่นตัวผู้นั้นดังมากกว่า 100 เดซิเบล  

การพยากรณ์ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของจักจั่น เช่น พวกจักจั่นจะส่งเสียงกรีดร้องดังระงมแสดงถึงการเข้าสู่ฤดูแล้ง หรือ ฤดูร้อน แล้ว

สัตว์ทั้งสองชนิดนี้คือตัวอย่างความเชื่อในการพยากรณ์อากาศที่กลายเป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาและมันเป็นเรื่องเล่าที่พบเห็นหรือเกิดขึ้นจริง

“ มดคือตัวแทนการพยากรณ์ฤดูฝน และ จักจั่นคือตัวแทนการพยากรณ์ฤดูร้อน ”

ขอบคุณข้อมูลจาก : เรื่องความเชื่อ http://www.udru.ac.th/oldsite/attachments/elearning/02/13.pdf?fbclid=IwAR1617qEIIV8Jv_AK9swFEeeLrV4vS98sX6yYc3m70PKUmWx2bH0y4UASrw , Insect learning https://bugedu.wordpress.com/iyXBdYOvxUPCzsAwblk , พยากรณ์อากาศสไตล์ชาวบ้าน https://www.kaset1009.com/th/articles/92556- , กรมฝนหลวงและการบินเกษตร https://www.royalrain.go.th/royalrain/ShowDetail.aspx?DetailId=11060 

PHOTO : กวี สิริจันทกุล (การประกวดภาพถ่าย สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ)
ที่มา : สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า Wildlife Conservation Office, Thailand

ความคิดเห็น

ข่าวฮอตชัดทุกกระแส

วิเคราะห์ เจาะลึก วัตถุมงคลหลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน

“ธรรมาภิบาล”เร่งหารือ กกต.ให้จัดการเลือกตั้งใหม่

ฟุตบอลสูงอายุชิงถ้วย ร.10 68 ทีมร่วมฟาดแข้ง

ชมรมทหารพราน ค่ายปักธงชัย แจกข้าวสาร อาหารแห้ง ณ​ ชุมชนชาวคลองลัดภาชี

ราชกรีฑาสโมสรจัดศึกกีฬาม้าแข่งไร้พนันชิงชัยแบบนิวนอร์มัล

ไทย ต้านไม่ไหว พ่ายญี่ปุ่น 0-7

ทนายอนันต์ชัย โพสต์ FB ระบุ