“ก้าวข้ามความแตกแยก ข้อเสนอจากงานวิจัย”

“ก้าวข้ามความแตกแยก ข้อเสนอจากงานวิจัย” 

เมื่อกลางปี 2563 คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้จัดตั้งคณะทำงานชุดหนึ่งขึ้นมาทำการศึกษาพิจารณา “โครงการประมวลข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ปรองดองสมานฉันท์” 

ประเด็นนี้ นอกจากมีสถานการณ์ความขัดแย้งแตกแยกทางสังคมอันเนื่องมาจากการต่อสู้ระหว่างขั้วการเมืองที่เป็นปัญหาเรื้อรังเรื่อยมาตั้งแต่ปี 2549 แล้ว ยังเป็นประเด็นที่สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ในประเด็นที่ 2 “กลไกการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธีและการรู้รักสามัคคีของสังคมไทย” 

คณะกรรมาธิการฯเห็นพ้องกันว่า เพื่อให้การพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความต่อเนื่อง ยั่งยืน และเกิดเสถียรภาพทางการเมือง จึงมีความจำเป็นที่ต้องทำให้ประชาชนมีความรู้รัก-สามัคคี-ปรองดอง  อยู่ร่วมกันโดยสันติ ยอมรับและเคารพในความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันโดยสุจริต

คณะทำงานได้ศึกษาแนวทางการจัดการปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นระดับชาติ โดยทบทวนเอกสารจากกรณีศึกษาและงานวิจัยที่มีผู้ดำเนินการและเสนอรายงานเอาไว้แล้วในรอบ 10 ปี จำนวน 16 ชิ้น  ประกอบด้วย  

1) Human Right Watch (2554) 6 ข้อ  
2) คณะกรรมาธิการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พลเอกสนธิ บุญยรัตนกลิน (2555) 9 ข้อ  
3) คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ ศาสตราจารย์คณิต ณ นคร (2555) 18 ข้อ 
4) คณะกรรมการประสานและติดตามคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (2554) 1 ข้อ  

5) ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้รับผลกระทบสลายชุมนุม (2555) 8 ข้อ  
6) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (2556) 8 ข้อ  7) คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (2556) 3 ข้อ 
 8) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (2558) 6 ข้อ  9) คณะกรรมาธิการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (2560) 8 ข้อ
10) สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (2560) 4 ข้อ  
11) คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (2560) 1 ข้อ 
12) สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า (2553) 3 ข้อ  

13) วันชัย วัฒนศัพท์ (2547) 10 ข้อ
14) เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2553) 4 ข้อ  
15) คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (2552) 6 ข้อ 
16) ชมรมนิติกรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2563) 6 ข้อ

และประมวลข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งสิ้น 101 ข้อเสนอ 

จากนั้นได้นำข้อมูลจากการประมวลข้อเสนอแนะ วิเคราะห์ จัดกลุ่มตามความสัมพันธ์ และสังเคราะห์ จัดทำเป็นข้อเสนอแนวทางการสร้างความสามัคคีในชาติ ที่เรียกกันว่า “แนวทางสันติสมานฉันท์” มี 8 ประการ โดยแบ่งเป็นมาตรการหลัก 5 ประการแรก และมาตรการเสริม 3 ประการหลัง ดังต่อไปนี้ 

1. ยึดประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติเป็นสำคัญ ให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง ห้ามมิให้ฝ่ายใดดึงลงมาใช้เป็นเครื่องมือ

2. พรรคการเมืองต้องประกาศจุดยืนและนโยบายที่เป็นรูปธรรม ที่จะนำพาชาติบ้านเมืองให้ก้าวพ้นปัญหาขัดแย้งเรื้อรัง

3. หยุดใช้สื่อปลุกระดมยั่วยุให้เกลียดชังและใช้ความรุนแรง สื่อมวลชนต้องตรวจสอบและนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน

4. ต้องปกป้องระบบนิติรัฐ บังคับใช้กฎหมาย และอำนวยกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอหน้า เที่ยงธรรม 

5. นิรโทษกรรมผู้เกี่ยวข้องอย่างมีเงื่อนไข โดยนำหลักยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่านเข้ามาเสริม

6. เยียวยา ฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงทุกฝ่าย อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง

7. ขับเคลื่อนมาตรการปรองดองเชิงป้องกัน สร้างพื้นที่ปลอดภัยในจังหวัดและหัวเมืองต่างๆ เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถพูดความจริงและนำสู่ความยุติธรรมได้ โดยไม่จำเป็นต้องมุ่งเข้ามาเรียกร้องหาคำตอบกันที่กรุงเทพฯ

8. พัฒนาศักยภาพกลุ่มและเครือข่ายผู้นำ“นักจัดกระบวนการเสวนา”อย่างเพียงพอ เสริมสร้างบุคลิก มีระบบสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจ.

นพ.พลเดช ปิ่นประทีป / 30 ก.ค. 2564
https://www.csdi.or.th/2021/07/public-report-84/

ความคิดเห็น

ข่าวฮอตชัดทุกกระแส

วิเคราะห์ เจาะลึก วัตถุมงคลหลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน

“ธรรมาภิบาล”เร่งหารือ กกต.ให้จัดการเลือกตั้งใหม่

ฟุตบอลสูงอายุชิงถ้วย ร.10 68 ทีมร่วมฟาดแข้ง

ชมรมทหารพราน ค่ายปักธงชัย แจกข้าวสาร อาหารแห้ง ณ​ ชุมชนชาวคลองลัดภาชี

ราชกรีฑาสโมสรจัดศึกกีฬาม้าแข่งไร้พนันชิงชัยแบบนิวนอร์มัล

ไทย ต้านไม่ไหว พ่ายญี่ปุ่น 0-7

ทนายอนันต์ชัย โพสต์ FB ระบุ