การแก้รัฐธรรมนูญสวนทางกับการเมืองวิถีใหม่

การแก้รัฐธรรมนูญสวนทางกับการเมืองวิถีใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่านายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป สมาชิกวุฒิสภากล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มี สส. 4 กลุ่ม เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเข้ามาสู่การพิจารณาของรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบในวาระที่ 1 ตามกระบวนการทางนิติบัญญัติ รวม 13 ฉบับ จะแก้ไขเป็นรายมาตราไม่ใช่ยกทั้งฉบับมาแก้ไขเกี่ยวพันกับรัฐธรรมนูญ 10 หมวด 51 มาตรา

มี4กลุ่มใหญ่  คือ
กลุ่มพรรคพลังประชารัฐเสนอมา1ฉบับจะมีการแก้ไข5ประเด็น 13มาตรา
กลุ่มพรรคเพื่อไทยเสนอมา4ฉบับแยกเป็นประเด็นจึงทำให้ง่ายต่อการลงมติ
กลุ่มพรรคภูมิใจไทย เสนอมา2ฉบับ แต่ใน2ฉบับนี้ทางภูมิใจไทยจะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับระบบเลือกตั้ง และใน2ฉบับนี้ที่ทางภูมิใจไทยเสนอมานี้จะยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
กลุ่มพรรคประชาธิปัตย์ เสนอมา 6ฉบับนี้มีสิทธิประโยชน์ของประชาชนรวมถึงสิทธิประโยชน์ของพรรคการเมืองอยู่ใน6ฉบับนี้ด้วย
นี่คือภาพรวมของในวาระที่ 1 ตามกระบวนการทางนิติบัญญัติ รวม 13 ฉบับ แก้ไขเกี่ยวพันกับรัฐธรรมนูญ 10 หมวด 51 มาตรา
นายแพทย์ พลเดชกล่าวต่อว่า  ใน13 ฉบับนี้สามารถแยกออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆอยู่ 2 กลุ่มคือกลุ่มแรก  จะเป็นกลุ่มที่เกี่ยวกับปากท้องของประชาชน มีอยุ่5ฉบับที่ประชาชนจะได้รับประโยชน์โดยตรง  ซึ่งฉบับของทางพรรคภูมิใจไทยได้ระบุ ถึงรายได้ขั้นต่ำของประชาชนที่ควรจะได้โดยให้ทางรัฐบาลประกันรายได้ขั้นต่ำเปรียบเหมือนด้านสาธารณสุขมีหลักประกันสุขภาพก็เช่นเดียวกับการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญให้รัฐบาลประกันรายได้ขั้นต่ำของประชาชนมีรายได้เข้าบัญชีทุกเดือน

ส่วนที่เหลืออีก 8 ฉบับ เป็นเรื่องอำนาจและผลประโยชน์ของนักการเมือง ชาวบ้านไม่เกี่ยว  สามารถสรุปแนวทางที่
“สวนทางกับการเมืองวิถีใหม่” ได้ 4 ลักษณะ คือ
 
เอื้อพรรคใหญ่ สนองนายทุนพรรค  อันนี้เป็นการสวนทางกับแนวคิดการทำให้พรรคการเมืองมีความเป็นประชาธิปไตยจากภายในพรรค.
  
ยกเลิกระบบการเลือกตั้งขั้นต้น หรือ Primary vote นี่ก็เป็นการตัดบทบาทและอำนาจของมวลสมาชิกพรรค สาขาพรรค และ ตัวแทนพรรคประจำจังหวัด  อันเป็นโครงสร้างฐานรากของพรรค โดยอำนาจจะถูกรวบไว้ที่ผู้บริหารพรรคและนายทุนพรรคเท่านั้น.

   ลดปาร์ตี้ลิสต์ กีดกันพรรคเล็ก  อันนี้ถ้าศึกษาพัฒนาการของระบบปาร์ตี้ลิสต์ในเมืองไทย ตั้งแต่ รัฐธรรมนูญ 2540  2550  และ 2560  จะเข้าใจทิศทางและเป้าหมายได้ไม่ยาก

  เปิดทางนักการเมืองประพฤติมิชอบ อันนี้เกี่ยวของกับ มาตรา 144 และ 185  เรื่องการจัดงบประมาณ  การแทรกแซงข้าราชการฝ่ายประจำ และผลประโยชน์ทับซ้อน. นพ.พลเดชกล่าวทิ้งท้าย

ความคิดเห็น

ข่าวฮอตชัดทุกกระแส

วิเคราะห์ เจาะลึก วัตถุมงคลหลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน

“ธรรมาภิบาล”เร่งหารือ กกต.ให้จัดการเลือกตั้งใหม่

ฟุตบอลสูงอายุชิงถ้วย ร.10 68 ทีมร่วมฟาดแข้ง

ชมรมทหารพราน ค่ายปักธงชัย แจกข้าวสาร อาหารแห้ง ณ​ ชุมชนชาวคลองลัดภาชี

ราชกรีฑาสโมสรจัดศึกกีฬาม้าแข่งไร้พนันชิงชัยแบบนิวนอร์มัล

ไทย ต้านไม่ไหว พ่ายญี่ปุ่น 0-7

ทนายอนันต์ชัย โพสต์ FB ระบุ