ขนมกุยช่ายเบตง ในยุคโควิด

ขนมกุยช่ายเบตง ในยุคโควิด ขายออนไลน์รายได้จากหลักหมื่นเป็นหลักแสน พร้อมส่งเสริมอาชีพให้ชาวบ้านปลูกขยายพันธ์กุยช่ายพันธ์พื้นเมืองเบตงเป็นวัตถุดิบให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด

นางธนัดอร ทองทาทิพย์ หรือ เจ๊ปู  เล่าวว่า ตนเป็นแม่บ้านที่ผันตัวเองมาเป็นแม่ค้าขายขนมกุยช่าย เริ่มจากทำขนมกุยช่ายให้คนรอบข้างชิม  สักพักได้รู้จักกับคุณยายท่านหนึ่งประกอบอาชีพขายผักที่ตลาด นำกุยช่ายมาให้เนื่องจากผักล้นตลาด  ขายไม่ได้   เจ๊ปูจึงมีความคิดว่า  ถ้านำกุยช่ายพันธ์พื้นเมืองเบตงมาทำขนมน่าจะไปได้ดี  ด้วยความโดดเด่นเรื่องของรสชาติ  กลิ่นของกุยช่าย  หลังจากนั้นไม่นานเริ่มขายตามตลาดนัด   ได้ออกบูทงานประจำปีของอำเภอเบตง “เทศกาลไก่เบตง”  ที่ผ่านมาๆ  ทำให้ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี  จึงคิดว่าในอนาคตจะสามารถสร้างอาชีพให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่อำเภอเบตง  นำผักมาให้ตนแปรรูปเป็นขนม  จนลงตัวได้เป็นสูตรของตัวเอง ที่ใช้แป้งบาง ไส้เยอะ กับน้ำจิ้มที่ เข้ากัน  จากนั้นมีหน่วยงานราชการ  พัฒนาชุมชนอำเภอเบตง  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  เข้ามามีบทบาทในเรื่องของการยกระดับมาตรฐานของผลิตภัณฑ์  ทำให้ขนมสามารเก็บได้ไว้นาน  โดยเฉพาะในยุคโควิด ที่ผู้คนมักจะอยู่บ้าน ทำอาหารกินกันเองภายในบ้าน ทำให้ขนมกุยชายเบตงมียอดสั่งซื้อทางออนไลน์ เป็นจำนวนมาก ทำให้วัตถุดิบอย่างผักกุยช่ายมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เพราะกุยช่ายไม่ได้ปลูกกันอย่างแพร่หลาย จึงได้หากลุ่มชาวบ้านในพื้นที่เข้ามาส่งเสริมในเรื่องของการขยายพันธ์เป็นอาชีพเสริมจากการกรีดยาง  ให้เกษตรกรได้มีการเรียนรู้ในเรื่องของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์  ให้ผลผลิตเพียงพอกับการตลาด และทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มจากเดิมอีกด้วย  ซึ่งความโดดเด่นของกุยช่ายเบตงนั้น มีลำต้นที่เรียวเล็ก  ใบค่อนข้างที่จะเยอะกว่าก้าน  มีรสชาติหวาน  มีกลิ่นที่โดดเด่นแตกต่างจากที่อื่น  

เจ๊ปู  เล่าอีกว่า ในส่วนของการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ขนมกุยช่ายที่ทำขายมี 4 ไส้คือ ผักกุยช่าย หน่อไม้ เผือก และมันแกว โดยไส้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ถือเป็น ซิกเนเจอร์ของทางร้าน คือ ผักกุยช่าย  คือ  กุยช่ายสำเร็จรูป  เป็นกุยช่ายพันธ์พื้นเมืองเบตงที่นำมาทำเป็นขนม  โดยผ่านกระบวนวิธีการนึ่งแพ็คใส่ถุงสุญญากาศ  จะสามารถเก็บรักษาได้เป็นเดือน  ปกติยอดขายเดือนนึงอยู่ที่หลักหมื่น  แต่ในช่วงสถานการณ์โควิด 19  รายเดือนเกือบ  2 แสนบาท  ซึ่งผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์กับการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ สะดวกในการรับประทาน  นำออกจากช่องฟรีส สามารถทอดทานได้เลย   1  แพ็ค  จำหน่ายในราคา  50  บาท  และผลิตภัณฑ์อีกหนึ่งอย่างที่รองรับหากวัตถุดิบล้นตลาด  คือ  ข้าวเกรียบกุยช่าย  ซึ่งอยู่ในช่วงของการทดลอง  ให้กลุ่มลูกค้าได้ลองชิม  ปรากฏว่าตอบโจทย์  เราจึงคิดว่าจะทำเป็นสินค้าอีกหนึ่งอย่างในอนาคตข้างหน้า  เนื่องจากข้าวเกรียบกุยช่ายจะสามารถเก็บได้เป็นปี  ไม่มีสารกันบูด  และจะต่อยอดไปเรื่อย ๆ โดยการเพิ่มรสชาติ  
  

สำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากลิ้มลองความอร่อยขนมกุยช่าย เชิญได้ที่ร้านเจ้ปูราชาไก่ตุ๋๋นมะระ กุยช่ายเบตง  กม.2 ถ.สุขยางค์ ทางออกไป จ.ยะลา ขวามือ ก่อนถึงป้อม ศอร. สามารถนำกลับไปเป็นของฝาก ที่สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน  โดยที่รสชาติยังคงเดิมไม่เปลี่ยน  ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร หรือสั่งออนไลน์ได้ทางเพจ กุยช่ายเบตง  โยธิน  ประชามติรัฐ  ทีมข่าว  อ.เบตง..จ.ยะลา  รายงาน

ความคิดเห็น

ข่าวฮอตชัดทุกกระแส

วิเคราะห์ เจาะลึก วัตถุมงคลหลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน

ทนายอนันต์ชัย โพสต์ FB ระบุ

ฟุตบอลสูงอายุชิงถ้วย ร.10 68 ทีมร่วมฟาดแข้ง

“ธรรมาภิบาล”เร่งหารือ กกต.ให้จัดการเลือกตั้งใหม่

ชมรมทหารพราน ค่ายปักธงชัย แจกข้าวสาร อาหารแห้ง ณ​ ชุมชนชาวคลองลัดภาชี

ราชกรีฑาสโมสรจัดศึกกีฬาม้าแข่งไร้พนันชิงชัยแบบนิวนอร์มัล

ไทย ต้านไม่ไหว พ่ายญี่ปุ่น 0-7