ศาลเยาวชนฯสงขลาจัดพิธีเปิด คลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม
ศาลเยาวชนฯสงขลาจัดพิธีเปิด คลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม
เมื่อวันที่ 25 กันยายน ที่ผ่านมา ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสงขลา จัดพิธีเปิดคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมขึ้น โดยมี นายปรีชา บุญโรจน์พงศ์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค9. เป็นประธานเปิดคลินิกฯ และ นายอมร มนต์แก้วกาญจน์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสงขลา กล่าวรายงาน มีคณะผู้พิพากษาฯ คณะผู้พิพากษาสมทบฯ เจ้าหน้าที่ และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในครั้งนี้ โดยนอกจากมีพิธีเปิดป้ายคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมอย่างเป็นทางการแล้ว มีการจัดนิทรรศการฯภายในงานอีกด้วย ณ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสงขลา
สำหรับ คลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสงขลา สืบเนื่องโดยเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงาน ปลัดกระทรวงยุติธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด (ปปส.) ได้ร่วมกันลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อ การดำเนินงานให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยคดียาเสพติดในระบบศาล
โดย นายปรีชา บุญโรจน์พงศ์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค9. กล่าวในพิธีเปิดนี้ว่า “ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดคลินิก ให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมสำหรับเด็กหรือ เยาวชนในคดียาเสพติดและคดีความรุนแรงในครอบครัวในระบบศาล ปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า สถิติคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ มีปริมาณคดีสูงที่สุด ทั้งนี้ ยาเสพติดเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศมายาวนานและ ต่อเนื่อง โดยเฉพาะจังหวัดในเขตอำนาจการพิจารณาคดีของสำนักงานศาลยุติธรรม ภาค 4 ซึ่งนอกจากจะมีปัญหายาเสพติดประเภทอื่นแล้ว ยังมีสถานการณ์แพร่ระบาด ของพืชกระท่อมจำนวนมากด้วย
ยาเสพติด นอกจากจะมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้เสพแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ รวมทั้งความมั่นคงของประเทศ โดยจะเห็นได้จากข่าวสาร การจับกุม อุบัติเหตุ และอาชญากรที่เกิดจากการใช้ยาเสพติดจากสื่อด่าง ๆ มากมาย ซึ่งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น การดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด จึงจำเป็นต้องดำเนินการควบคู่ทั้งด้าน การป้องกัน การปราบปราม และการบำบัดรักษา ต้องบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับ หน่วยงานต่าง ๆ เพราะการใช้มาตรการทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างยั่งยืน”
“การที่สำนักงานศาลยุติธรรม ได้คัดเลือกศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดสงขลา เป็นศาลนำร่องในการดำเนินงานคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่เป็นพื้นที่สำหรับให้โอกาสแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดี ยาเสพติดหรือคดีความรุนแรงในครอบครัว ได้รับการพัฒนาปรับเปลี่ยนความคิด ได้รับ ความรู้ที่ถูกต้อง นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สังคมให้การยอมรับ เสียกกระทำ ในสิ่งที่ถูกต้อง พิสูจน์การกระทำว่าสามารถเป็นคนดีได้ก่อนที่ศาลจะตัดสินพัพากษาคดี สังคมเราก็จะได้คนดีคืนสู่สังคม และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป” นายปรีชา บุญโรจน์พงศ์นายปรีชา บุญโรจน์พงศ์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค9. กล่าวทิ้งท้ายในที่สุด
“การที่สำนักงานศาลยุติธรรม ได้คัดเลือกศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดสงขลา เป็นศาลนำร่องในการดำเนินงานคลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่เป็นพื้นที่สำหรับให้โอกาสแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดี ยาเสพติดหรือคดีความรุนแรงในครอบครัว ได้รับการพัฒนาปรับเปลี่ยนความคิด ได้รับ ความรู้ที่ถูกต้อง นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สังคมให้การยอมรับ เสียกกระทำ ในสิ่งที่ถูกต้อง พิสูจน์การกระทำว่าสามารถเป็นคนดีได้ก่อนที่ศาลจะตัดสินพัพากษาคดี สังคมเราก็จะได้คนดีคืนสู่สังคม และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป” นายปรีชา บุญโรจน์พงศ์นายปรีชา บุญโรจน์พงศ์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค9. กล่าวทิ้งท้ายในที่สุด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น