ประเทศคูราเซา 1ในทีมที่จะมาแข่งขันฟุตบอล " คิงส์คัพ
#ชัดทุกกระแส
ทั้งนี้การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์ คัพ ทุกนัดจะได้รับการรับรองจากฟีฟ่า และ เอเอฟซี ให้เป็น แมตช์ระดับ International ‘A’ Match และมีการนำผลลัพธ์ไปคำนวนคะแนนฟีฟ่า แรงกิ้ง
ประเทศคูราเซา 1ในทีมที่จะมาแข่งขันฟุตบอล
" คิงส์คัพ "
" คิงส์คัพ "
สำหรับ คูราเซา น้อยคนนักจะรู้จัก ซึ่งทีมชาติคูราเซานี้รั้งอันดับ 82 ของโลกตามฟีฟ่าแรงกิ้งเดือนเมษายนนี้ซึ่งอันดับดีกว่าอีก3ชาติที่เข้าร่วมการแข่งขันรวมถึงประเทศไทยที่เป้นเจ้าภาพอีกด้วย และทีมชาติคูราเซานีเเพิ่งผ่านเข้ารอบสุดท้ายคอนคาเคฟโกลด์คัพ 2019 ที่จะแข่งขันช่วงวันที่ 15 มิถุนายน - 7 กรกฎาคมนี้ด้วย
สำหรับการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์ คัพ ครั้งที่ 47 ที่จะจัดขึ้นที่จังหวัด บุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ 5-8 มิถุนายนนี้
ทั้งนี้การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์ คัพ ทุกนัดจะได้รับการรับรองจากฟีฟ่า และ เอเอฟซี ให้เป็น แมตช์ระดับ International ‘A’ Match และมีการนำผลลัพธ์ไปคำนวนคะแนนฟีฟ่า แรงกิ้ง
โดยทีมที่เข้าร่วมประกอบไปด้วย
1. ทีมชาติไทย (อันดับ 114)
2. ทีมชาติเวียดนาม (อันดับ 98)
3. ทีมชาติอินเดีย (อันดับ 101)
4. ทีมชาติคูราเซา (อันดับ 82)
2. ทีมชาติเวียดนาม (อันดับ 98)
3. ทีมชาติอินเดีย (อันดับ 101)
4. ทีมชาติคูราเซา (อันดับ 82)
มาทราบความเป็นมาของประเทศนี้สักเล็กน้อย
กือราเซามีพื้นที่ 444 ตารางกิโลเมตร (171 ตารางไมล์) มีประชากร 160,337 คน ณ วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017[7] และมีวิลเลมสตัดเป็นเมืองหลวง พื้นที่ทั่วไปเป็นพื้นที่ราบ มีอุตสาหกรรมที่สำคัญคือ การกลั่นน้ำมันซึ่งนำน้ำมันดิบมาจากเวเนซุเอลา นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยว
ชาวสเปนเดินเรือมาถึงกือราเซาใน ค.ศ. 1499 และเริ่มตั้งถิ่นฐานใน ค.ศ. 1527 ต่อมาบริษัทอินเดียตะวันตกของเนเธอร์แลนด์ได้เข้ามายึดครองใน ค.ศ. 1634 ต่อมาตกเป็นของอังกฤษระหว่าง ค.ศ. 1807–1815 หลังจากนั้นกลับเป็นของเนเธอร์แลนด์อีกโดยรวมอยู่ในอาณานิคมกือราเซาและเขตสังกัด (Curaçao and Dependencies) ระหว่าง ค.ศ. 1815–1954 ต่อมาได้ถูกผนวกรวมกับดินแดนอื่น ๆ เช่น อารูบา, ซินต์มาร์เติน, ซาบา, โบแนเรอ แล้วเปลี่ยนฐานะโดยจัดตั้งเป็นเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส ในช่วงนี้กือราเซามีชื่อทางการว่า "ดินแดนเกาะกือราเซา" (Island Territory of Curaçao) จนกระทั่งวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2010 เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสถูกยุบเลิก กือราเซาจึงกลายเป็นประเทศปกครองตนเองโดยตรงภายในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เช่นเดียวกับประเทศเนเธอร์แลนด์, อารูบา และซินต์มาร์เติน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น